INCOTERMS ในกลุ่ม C ได้แก่  CFR, CIF, CPT, CIP.
Senior CatSenior Cat

[ทความนี้ เกี่ยวกับ INCOTERMS ในกลุ่ม C ได้แก่ CFR, CIF, CPT, CIP.



Senior SeagullSenior Seagull

วิดีโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 6:15 นาที

บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่เลือกใช้ข้อตกลงในการส่งออกสินค้าเทอม CFR และCIF ในการส่งออกสินค้าจากประเทศไทย

“INCOTERMS” คืออะไร ?“INCOTERMS” คือ ข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้าหรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่าง ๆ

เงื่อนไขการขนส่งสินค้าเทอม CFR และ CIF คืออะไร ? ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนกระทั่งสินค้าขนส่งถึงท่าเรือปลายทาง

และผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า
เมื่อสินค้าผ่าน กาบระวางเรือไปแล้ว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อทันที

ข้อควรระวังสำหรับเทอมนี้ คือ สถานที่ในการรับผิดชอบสินค้าและค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกัน

รายละเอียดเงื่อนไขการขนส่งสินค้าเทอม CFR และ CIF
CFR คือ “Cost and Freight” หรือในบางครั้งอาจจะเขียนว่า “C&F” แต่ที่ถูกต้องคือ “CFR”

สำหรับ CIF คือ “Cost, Insurance and Freight ความแตกต่างระหว่างสองเทอมนี้คือ การทำประกันภัยสินค้าเพราะ “I” ย่อมาจาก “Insurance”, ซึ่งแปลว่าการทำประกัน

ในเทอม CIF ผู้ขายต้องรับผิดชอบการทำประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งจนถึงปลายทาง
เทอม CFR จะไม่รวมการทำประกันภัยแต่ถ้าหากต้องการเพิ่ม ทางผู้ซื้อจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

มุมมองสำหรับผู้ส่งออก หากผู้ส่งออกต้องการส่งสินค้าในปริมาณมาก และมีการทำธุรกิจร่วมกับทาง freight forwarder ที่มีประสบการณ์ในการส่งออกสินค้า ซึ่งจะมีข้อได้เปรียบหากเลือกใช้การขนส่งเทอม CRF หรือ CIF

มุมมองสำหรับผู้นำเข้า หากคุณนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นครั้งแรก หรือทาง Freight forwarder ไม่คุ้นเคยกับประเทศที่ต้องนำเข้าสินค้ามาก่อน คุณอาจจะเลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ CFR หรือ CIF
เพราะทางผู้ส่งออก จะรับภาระความผิดชอบสินค้าเพิ่มมากขึ้น

ต่อไป คือมุมมองของทาง Freight forwarder ที่มีประสบการณ์

ยกตัวอย่างเช่น เราคือ freight forwarder ในประเทศไทย ที่ส่งออกมะม่วงและทุเรียนเป็นจำนวนมาก และส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นประจำทุกเดือน

เนื่องจากบริษัทของเรา มีการขนส่งสินค้าในปริมาณมาก ทำให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสายเรือ เราจึงมั่นใจว่าเรทราคาดีกว่าที่อื่นอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสามารถทำธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทย ที่มีการส่งออกสินค้าไปยังแถบเอเชีย ตะวันออกกลางและยุโรป รวมไปถึงแอฟริกา อเมริกาใต้
ในเรทราคาที่สมเหตุสมผลที่สุด

ในการซื้อขายในแต่ละครั้ง ทางผู้ส่งออกและผู้นำเข้า จะต้องเจรจาและทำข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าและภาระความรับผิดชอบในการดูแลสินค้า
และจะต้องพิจารณา Freight forwarder ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในเรื่องโลจิสติกส์

กลับมาที่หัวข้อ INCOTERMS กันต่อ ข้อตกลงในกลุ่ม C ประกอบด้วยเงื่อนไข CFR และ CIF รวมไปถึง CPT และ CIP

สำหรับเทอม CFR และ CIF เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า

สำหรับเทอม CPT and CIP เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง ซึ่งเงื่อนไขนี้จะถูกใช้กับ การขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์

ภาระความรับผิดชอบสำหรับข้อตกลงในกลุ่ม C ผู้ส่งออกจะรับผิดชอบสินค้า จนเรือถึงปลายทาง

ต่อไปคือความแตกต่างระหว่างเทอม CPT และ CIP
CPT คือ “Carriage Paid To”
CIP คือ “Carriage and Insurance Paid To”.

ความแตกต่างระหว่างสองเทอมนี้ คือ การทำประกันภัย เพราะ “I” ในเทอม CIP ย่อมาจากคำว่า insurance
ส่วนเทอม CPT จะไม่รวมการทำประกันภัยสินค้า

สำหรับครั้งนี้ เราได้อธิบายเกี่ยวกับ ข้อตกลงในกลุ่ม C ว่ามีข้อดีอย่างไรบ้าง

มีค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบทั้งฝั่งผู้นำเข้าและส่งออก

และควรพิจารณาปริมาณของสินค้าด้วยเช่นกัน

การส่งสินค้าเทอม CFR and CIF ถูกนำมาใช้บ่อยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น เราจควรที่ะต้องทำความเข้าใจรวมไปถึงรายละเอียดให้ดี