บทความนี้ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย
วิดิโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 9.02 นาที
การขนส่งสินค้าอันตรายและรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท, การจำแนกสารที่เป็นอันตรายสำหรับการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ทุกคนเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการขนส่งสินค้าอันตรายกันบ้างไหม
สินค้าอันตรายมีหลากหลายประเภท ซึ่งอาจะเป็นสิ่งของที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
บทความนี้ เราจะมาบอกรายละเอียดว่ามีสินค้าประเภทใดบ้างที่จัดเป็นสินค้าอันตราย
และมีวิธีการขนส่งสินค้าประเภทนี้อย่างไร
ปัจจุบันมีสินค้ามากมายหลายประเภทที่ถูกจัดเป็นสินค้าอันตราย
เช่น เครื่องยนต์, แบตเตอรี่, น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์, เครื่องเทศ, น้ำแข็งแห้ง, ถังควบคุมแรงดันน้ำ, แบตเตอรี่ที่เป็นชนิด Lithium, กระป๋องสเปรย์, งานจิตรกรรม เป็นต้น
หากเราส่งสินค้าอันตรายแบบเดียวกับสินค้าปกติ อาจโดนค่าปรับหรือทำให้เครื่องบินและเรือที่ทำการส่งสินค้าเกิดความเสียหายได้
ในกรณีที่ต้องการส่งสินค้าอันตราย เราขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบรายละเอียดกับทาง freight forwarder ล่วงหน้า
ในการขนส่งสินค้าอันตราย จะมี UN Number เป็นเลขอ้างอิง 4 หลัก แสดงสมบัติของสารอันตราย ตามข้อกำหนดขององค์การสหประชาชาติ
ซึ่งเป็นมาตรฐานในการจำแนกประเภทสินค้าอันตรายเพื่อการขนส่ง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทำตามคำแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย และมีการจำแนกสารที่เป็นอันตรายออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้
ประเภท 1 – ระเบิดได้
ประเภทที่ 2 – ก๊าซ
ประเภทที่ 3 – ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่ 4 – ของแข็งไวไฟ สารที่ลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ
ประเภทที่ 5 – สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 – สารพิษและสารติดเชื้อ
ประเภทที่ 7 – วัสดุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 – สารกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 – วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
ในการขนส่งสินค้าอันตรายสามารถส่งได้ทั้งทางเรือและเครื่องบิน ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีกฎที่แตกต่างกัน
จึงจะต้องตรวจสอบรายละเอียดและน้ำหนักของสินค้าอันตรายก่อนล่วงหน้า เพราะสินค้าบางชนิดสามารถส่งได้กับบางสายเรือเท่านั้น
โดยปกติแล้ว การขนส่งสินค้าทางเครื่องบินจะมีกฎที่เข้มงวดมากกว่าสายเรือ
คุณสามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่าสามารถส่งได้หรือไม่ ได้จากหมายเลข UN
หมายเลข UN เป็นเลขอ้างอิง 4 หลัก แสดงสมบัติของสารอันตราย และ UN class จำแนกประเภทของสินค้าอันตราย
เอกสาร SDS คืออะไร
เอกสารที่ระบุ UN number และจำแนกรายละเอียดของสินค้าอันตราย เราจะเรียกว่า SDS.
SDS หรือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัย คือเอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย ความจริงแล้วไม่ว่าจะเรียก MSDS หรือ SDS ก็มีความหมายอย่างเดียวกันคือ เพียงแต่ว่าในบางกลุ่มประเทศอาจจะเรียกชื่อต่างกันไป
เอกสาร SDS จะระบุรายละเอียดเกี่ยวับวิธีการดูแลสินค้าอันตราย เพื่อสื่อสารให้ทราบถึงความเสี่ยงการป้องกันและวิธีใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย และสามารถจัดการกับสารเคมีได้อย่างเหมาะสม
ปัจจุบันได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 ข้อ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย มีหัวข้อดังต่อไปนี้
ประเภทที่ 9, คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ (Physical and Chemical Properties)
ประเภทที่ 10, ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reactivity)
ประเภทที่ 14, ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport Information)
ประเภทที่ 9 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป เช่น จุดวาบไฟ ความไวไฟ การระเบิด เป็นต้น และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับความปลอดภัย
ประเภทที่ 10 : แสดงข้อมูลที่ครอบคลุมถึงสภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง
เช่น รายการของสภาวะต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกิด
ปฏิกิริยาที่อันตราย วัสดุที่ควรหลีกเลี่ยง และสารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัวของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
ดังนั้นจึงถือเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการขนส่งทางอากาศและทางทะเล
ประเภทที่ 14 : แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งที่ผู้ใช้จำ เป็นต้องรู้ หรือใช้ ติดต่อสื่อสารกับบริษัทขนส่ง และแสดงรายละเอียด เลขอ้างอิง 4 หลัก หรือ UN number และประเภทของสินค้าอันตราย
กลุ่มการบรรจุสินค้า
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าอันตรายตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
และจำแนกตามความอันตรายของสาร
การดำเนินพิธีศุลกากรสำหรับสินค้าที่อันตราย ในกรณีที่ต้องการนำเข้าสินค้าอันตาย ระยะเวลา free time จะสั้นมาก ดังนั้นจะต้องเคลียร์สินค้าให้ไวที่สุด
เพราะหากมีปัญหาเกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร จะทำให้เราเคลียร์สินค้าล่าช้ากว่ากำหนด และอาจเพิ่มค่าใช้จ่าย demurrage ด้วยค่ะ
เราขอแนะนำว่า ให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าในเอกสาร SDS ล่วงหน้า และเตรียมเอกสารสำหรับการทำพิธีการศุลกากร
สิ่งที่ควรพิจารณาการขนส่งสินค้าอันตรายภายในประเทศและการจัดเก็บสินค้าอันตราย
ยกตัวอย่างงเช่น ในกรณีที่สินค้าอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น
คุณจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมสารเคมีที่เป็นพิษและเป็นอันตรายและพระราชบัญญัติบริการดับเพลิงและพระราชบัญญัติความปลอดภัยของก๊าซแรงดันสูง
เป็นกฎที่ใช้ภายในประเทศแต่มีความแตกต่างกัน และเป็นกฏที่เราต้องปฏิบัติในการควบคุมสินค้า และควรเก็บสินค้าไว้ในโกดังสินค้าอันตราย
การควบคุมดูแลสินค้าอันตรายในแต่ละประเทศ
ต้องส่งเอกสาร SDS ให้แก่สายเรือ ลานลากตู้ ท่าเรือ และการทำพิธีศุลกากร
และจะต้องส่งเอกสารกำกับการขนส่งสินค้าอันตรายล่วงหน้า เพื่อเป็นคำแนะนำในการดูแลสินค้าให้ถูกต้องและปลอดภัย
ต้องมีการแสดงฉลากสินค้าอันตราย เครื่องหมายหีบห่อสินค้าอันตราย และประเภทของหีบห่อสินค้าอันตราย
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าอันตรายในแต่ละประเทศ จะมีกฎที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราขอแนะนำให้ส่งรายละเอียดของสินค้าไปยังประเทศปลายทางก่อนล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
การขนส่งสินค้าอันตรายนั้นต้องดำเนินการอย่างรอบครอบ ระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตรายที่ขนส่งนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการขนส่งสินค้าอันตรายแต่ละครั้ง
ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าอันตรายนั้น
เราขอแนะนำให้ปรึกษากับ บริษัท freight forwarder ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องของสินค้าอันตรายโดยตรง