มุมมองสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสำหรับการขนส่งสินค้า เทอม FOB
Senior CatSenior Cat

About FOB and FCA



Senior SeagullSenior Seagull

วิดีโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 4:47 นาที

มุมมองสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสำหรับการขนส่งสินค้าแบบ FOB

การจัดการกับความเสี่ยงและราคาต้นทุน คือปัจจัยหลักในการซื้อขาย

เช่น หากเราทำธุรกิจกับบริษัทที่มีประสบการณ์ในการนำเข้าสินค้า จะใช้เงื่อนไขการขนส่งแบบ FOB กับประเทศที่มีการซื้อขายเป็นปกติ

สำหรับเงื่อนไข CFR จะใช้กับประเทศที่ไม่ค่อยมีการซื้อขายร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้เทอมการขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจ

ต่อไป เราจะเราจะอธิบายข้อดีและข้อเสีย สำหรับการขนส่งสินค้าแบบ FOB

FOB คืออะไร ?

การขนส่งสินค้าเทอม FOB คือ ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
หลังจากนั้น ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

FOB ย่อมาจาก “Free On Board”,

Board หมายความว่า ดาดฟ้าเรือ
และ ผู้ซื้อจะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว

ใน Invoice ชื่อของท่าเรือส่งออกสินค้า จะตามหลังคำว่า FOB

ยกตัวอย่าง เช่น “FOB TOKYO”

“FOB TOKYO” หมายถึง เมื่อสินค้าถูกส่งออกจากโตเกียว คือ วางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือส่งออก ภาระความรับผิดชอบทั้งหมดจะย้ายจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้า

ผู้นำเข้ารับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว ซึ่งเป็นการลดภาระความรับผิดชอบในฝั่งผู้ส่งออก

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้นำเข้าแล้ว ภาระความรับผิดชอบจะน้อยกว่าการขนส่งสินค้าเทอม EX-works

การส่งสินค้าแบบ FOB จะต้องมีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันความเสี่ยงในระดับหนึ่ง

มุมมองของผู้ส่งออก สำหรับการขนส่งสินค้าเทอม FOB

สิ่งที่จะต้องเตรียมในการขนส่งออกสินค้าเทอม FOB คือ รถบรรทุกสินค้าภายในประเทศและการทำศุลกากร

สำหรับผู้ส่งออก การขนส่งสินค้าแบบ FOB จะไม่ซับซ้อนและเป็นลดภาระความรับผิดชอบ ซึ่งผู้ส่งออก จะมีหน้าที่เพียงมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้า

ต่อไปคือ มุมมองของผู้นำเข้า สำหรับการขนส่งสินค้าเทอม FOB หากคุณนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่เป็นประจำ สามารถลดต้นทุนจากการใช้เทอม FOB ได้

โดยการเจรจาเรื่องการค่าเฟรทกับทาง Freight forwarder ในกรณีที่ทำการซื้อขายสินค้าเทกองโดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า
เราขอแนะนำให้เลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ CFR

เพราะจะคุ้มค่ามากกว่าและสามารถจัดการได้อย่างราบรื่น

สำหรับการเลือก Freight forwarder ก็มีความสำคัญ จะต้องเลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญทางด้านการขนส่งสินค้า

ดังนั้น Freight forwarder ที่ดีจะต้องมีตัวเลือกและข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อความสะดวกและราบรื่น

ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทของเราได้นำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน มายังประเทศไทยเป็นประจำ
ดังนั้น จะมีปริมาณสินค้ามาก ค่าใช้จ่ายจึงถูกลง

แต่ถ้าหากนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาหรือแอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่เราได้ทำซื้อขายเป็นประจำ มีปริมาณนำเข้าน้อย จึงมีค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น
ดังนั้น ในกรณีเรานี้ จะเสนอเทอม CFR เพื่อเพิ่มกำไรให้กับผู้ส่งออก

ต่อไป คือการขนส่งสินค้าแบบ “FCA” ที่มีความคล้ายคลึงกับ “FOB”
อย่างที่ไปบอกไป ว่าการขนส่ง เทอม “FOB” คือ ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบ จากถูกเปลี่ยนจากผู้ขายไปเป็นผู้ซื้อ เมื่อสินค้าถูกวางลงบนเรือ

แต่สำหรับเทอม FCA คือ ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบ จากถูกเปลี่ยนจากผู้ขายไปเป็นผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่ระบุไว้
หรือ จุดรับสินค้า เช่น หน้าโรงงาน

ประโยชน์จากการใช้เทอม FCA คือ มีภาระความรับผิดชอบที่ท่าเรือ น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเทอม FOB

เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ FOB คือ ภาระความรับผิดชอบจะถูกเปลี่ยนจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้า ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถูกวางบนเรือในฝั่งประเทศส่งออกสินค้า

ดังนั้น ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเทอมซื้อขาย FOB
และพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ให้เหมาะกับการทำธุรกิจของคุณเอง