HS code หรือ พิกัดศุลกากร
สามารถเข้าไปรับชมวิดิโอนแอนนิเมชั่น เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
มาทำความรู้จักกับ HS code หรือ พิกัดศุลกากร
การนำเข้าและส่งออกสินค้านั้น จะต้องมีการทำตามระเบียบของพิธีการศุลกากร เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและปัญหาที่ตามมาในระหว่างการขนส่งสินค้า ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ควรทำความเข้าใจและมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้สามารถตรวจหาพิกัดของสินค้าในระหว่างการขนส่งได้
นั่นก็คือ HS CODE หรือ พิกัดศุลกากร
ซึ่งพิกัดศุลกากรนี้คืออะไร และมีวิธีการการค้นหาพิกัดสินค้าอย่างไรในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
เนื่องจากในแต่ละประเทศ ย่อมมีประเภทของสินค้า และวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงในแต่ละที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน
จึงได้มีการคิดข้อกำหนดของประเภทและชนิดสินค้า เพื่อใช้แทนความหมายของสินค้าในแต่ละประเภท และใช้ในการตรวจสอบ
การจัดเก็บภาษีนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ
จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อกำหนดเกณฑ์ที่ชื่อว่า “HS Code” ขึ้นมานั่นเอง
เรามาดูตัวอย่างกัน..
พิกัดศุลกากร 6 หลัก ของล้อรถยนต์ คือ “8708.70”.
HS code มีความสำคัญต่อการระบุประเภทของสินค้า
ดังนั้น หากคุณมีพิกัดของสินค้าแล้ว ก็สามารถตรวจสอบประเภทของสินค้าได้ทันที
การควบคุมพิกัดศุลกากร
พิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonized System) เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก
สำหรับแจ้งภาษีอากร มีการยอมรับและประกาศใช้โดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization หรือ WCO)
เป็นความร่วมมือของสมาชิกกว่า 150 ประเทศ รวมประเทศไทยของเราด้วย ซึ่งถือเป็นระบบสากลทางการค้าระหว่างประเทศ
และระบบ HS Code จะมีการปรับปรุงข้อมูลและเพิ่มประเภทของผลิตของภัณฑ์ทุก ๆ 5 ปี
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์และรหัสตัวเลขของแต่ละประเทศ
อัตราภาษีศุลกากรจะขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภทของสินค้า ระบบฮาร์โมไนซ์คือรหัสตัวเลขสากลที่ใช้ในทางการค้า
เมื่อทำการนำเข้าและส่งออก ประเภทของสินค้าจะถูกแสดงด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก หลักถัดมาจะใช้สำหรับการแยกประเภท
และแสดงรายละเอียดของสินค้าที่มากขึ้น ซึ่งกำหนดโดยแต่ละประเทศนั่นเอง
การจำแนกพิกัดศุลกากร HS Code
ใช้สำหรับการจำแนกหรือระบุชนิดของสินค้า มีรายละเอียด ดังนี้
① ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”
② ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ในตอน
③ ตัวแรก ที่รวม ตอนและประเภท เป็นลำดับของ “ประเภทย่อย”
การจำแนกเลขหกหลักนี้ คือรหัสสากล
ต่อไป เรามาพูดถึงวิธีการจัดประเภทผลิตภัณฑ์โดยละเอียด
รายละเอียดของ “ตอน”
สามารถจำแนกได้เป็น 97 ตอน ซึ่งแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้
ตอนที่ 01 : สัตว์มีชีวิต
ตอนที่ 02 : เนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้
ตอนที่ 08 : ผลไม้และลูกนัตที่บริโภคได้ เปลือกผลไม้จำพวกส้มหรือเปลือกแตงโม
ตอนที่ 09 : กาแฟ ชา ชามาเต้ และเครื่องเทศ
ตอนที่ 10 : ธัญพืช
ตอนที่ 11 : ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมโม่สีเมล็ดธัญพืช มอลต์ สตาร์ช อินูลิน และกลูเทนจากข้าวสาลี
ตอนที่ 97 : ศิลปกรรม ของที่นักสะสมรวบรวม และโบราณวัตถุ
รหัสตัวเลขของ “ตอน” ถูกกำหนดดังนี้
ตอนที่ 1 คือ 01 , ตอนที่ 2 คือ 02 , ตอนที่ 97 คือ 97
ต่อไป เราจะอธิบายเกี่ยวกับประเภทและประเภทย่อย
ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง จัดว่าอยู่ในประเภทธัญพืช เพราะฉะนั้นจะถูกกำหนดให้อยู่ในตอนที่ 10
ต่อไปคือ “ประเภท” ประเภทจะแสดงรายละเอียดของสินค้าที่มากขึ้น
ประเภทของธัญพืชมีดังนี้
เลขพิกัด 4 ตัวแรกคือ 10.01
ข้าวกล้อง คือ ข้าว ดังนั้นจะถูกจัดอยู่ในประเภท 10.06
ต่อไปคือ ประเภทย่อย
ลำดับของ “ประเภทย่อย” คือ เลข 4 ตัวต่อมา โดยจะแสดงรายละเอียดของสินค้ามากขึ้นจากประเภท เช่น วัตถุดิบและวัสดุ
ตอนที่ 10 : ธัญพืช
ประเภท 10.06 : ข้าว
ประเภทย่อย :
1006.10 – ข้าวเปลือก
1006.20 – ข้าวกล้อง
1006.30 – ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม
1006.40 – ปลายข้าว
ดังนั้น ข้าวกล้อง จะอยู่ในประเภทย่อย ที่ 1006.20.
เช่น พิกัดศุลกากร 10 ตัว สำหรับข้าวกล้องในประเภทญี่ปุ่น คือ “10.06.20.090.4”
การใช้ประโยชน์จากพิกัดศุลกากร
มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ใบขนสินค้าขาเข้า
พิกัดศุลกากรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำใบขนสินค้าขาเข้าและส่งออกสำหรับทั้งสองประเทศ
เลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร เป็นระบบสากลแต่อัตราอาษีอากรของสินค้า อาจมีความแตกต่างระหว่างประเทศนำเข้า-ส่งออก
และขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภทของสินค้า
เราอาจพบว่า อัตราภาษีศุลกากรมีความแตกต่างได้ หากผู้ชำนาญการศุลกากรขาเข้าใส่พิกัดที่ไม่ตรงกันกับประเทศนำเข้าสินค้า
การเลือกใช้พิกัดศุลกากรโดยผู้ชำนาญการศุลกากร
เมื่อมีการนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยผ่านตัวแทน เช่น Freight forwarder
โดยปกติแล้ว จะมีผู้ชำนาญการศุลกากรทำหน้าที่ระบุพิกัดศุลกากรของสินค้าสำหรับการส่งออกและนำเข้า
จากเอกสารแสดงรายละเอียดขนส่งสินค้า ในกรณีที่ไม่สามารถระบุพิกัดสินค้าได้ อาจต้องขอรายละเอียดจากลูกค้าเพิ่มเติม
เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ต้องตรวจสอบวัสดุและวัตถุดิบที่ใช้ จาก MSDS เพื่อระบุพิกัดค่ะ
ในการระบุพิกัดศุลกากร ผู้ส่งออกสินค้าและผู้ชำนาญการศุลกากร อาจเลือกใช้พิกัดสินค้าที่ไม่ตรงกันได้
หากพิกัดสินค้าต่างกัน ทางผู้ชำนาญการศุลกากร จะต้องทำงานยืนยันเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้าและส่วนผสม กับทางผู้ส่งออก เพื่อให้แน่ใจว่าพิกัดศุลกากรมีความถูกต้อง
นอกจากนี้ หากในกรณีที่เราไม่สามารถระบุพิกัดได้ด้วยตนเอง สามารถติดต่อกรมศุลกากร เพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับพิกัดสินค้าได้
เมื่อพิกัดศุลกากรถูกแจ้งให้กรมศุลกากรและได้รับการอนุมัติแล้ว พิกัดศุลกากรจะถูกระบุไว้ในเอกสารการส่งออกสินค้า
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ชำนาญการศุลกากร สามารถกดเข้าไปชมในลิ้งค์วิดีโอข้างล่าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับพิกัดศุลกากรสำหรับแต่ละประเทศ
เมื่อได้รับเอกสาร เช่น invoice จากทางผู้ส่งออกแล้ว
ชื่อสินค้าและพิกัดศุลกากรจะถูกระบุในเอกสาร และจะต้องส่งพิกัดศุลกากรก่อนล่วงหน้าเพื่อใช้ในกระบวนการทำใบขนสินค้าขาเข้า
ในฝั่งประเทศนำเข้าสินค้า ในแต่ละประเทศจะมีการจัดการเกี่ยวกับการระบุพิกัดศุลกากรเมื่อมีการนำเข้าสินค้าที่แตกต่างกัน
เช่น สำหรับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา จะต้องส่งรายละเอียดของสินค้าและพิกัดศุลกากรให้แก่ศุลกากรท้องถิ่น 24 ชั่วโมงก่อนที่สินค้าจะโหลดขึ้นเรือ
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
เมื่อทำการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศภายใต้ข้อตกลง EPA
หากมีเอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิด จะสามารถลดอัตราภาษีของสินค้าได้ หรือในกรณีที่ต้องการส่งออกสินค้าโดยมีใบรับรองแหล่งกำเนิดแต่ใช้พิกัดศุลกากรไม่ถูกต้อง ก็จะไม่สามารถได้รับสิทธิการลดอัตราภาษี
เอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดจะถูกส่งจากผู้ส่งออกสินค้าไปยังสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น
ก่อนส่งเอกสาร จะต้องระบุพิกัดศุลกากร 6 หลัก และอัตราภาษีสำหรับประเทศนำเข้าสินค้า
จากข้อมูลของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ไม่จำเป็นต้องระบุพิกัดในใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพิกัดสินค้า คุณจะต้องปฏิบัติตามกฎศุลกากรของประเทศผู้นำเข้า
ในกรณีที่มีความผิดพลาดเกี่ยวกับอัตราภาษีเกิดขึ้น อาจส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
ดังนั้น เราขอแนะนำให้ผู้ส่งออก ตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ กับทางประเทศผู้นำเข้าสินค้าล่วงหน้า
พิกัดศุลกากร หรือ HS Code นั้นมีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ
โดยจะต้องดำเนินการตรวจสอบให้ถูกต้อง เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบอัตราภาษีอากรจากประเภทของสินค้า
ตั้งราคาขาย และดำเนินการลดหย่อนภาษีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้