การค้าระหว่างประเทศ แบบ Off-shore trade.
Senior CatSenior Cat

การค้าระหว่างประเทศ แบบ Off-shore trade



Senior SeagullSenior Seagull

วิดิโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 10.26 นาที

การค้าระหว่างประเทศแบบ off-shore trade บางคนอาจคิดว่าดูยากและมีความซับซ้อน
Off-shore trade คือ การทำธุรกิจร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ หรือ ดำเนินการค้าแบบผ่านตัวแทนหรือนายหน้า
เป็นหนึ่งในรูปแบบการค้าที่มีความสำคัญ เพราะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก

หากมีความคุ้นเคยแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ดังนั้น หากต้องการทำธุรกิจ off-shore trade ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

แต่นายหน้าและ freight forwarders จะต้องคำนึงถึงเรื่องกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีหลายขั้นตอน

บทความนี้ เราจะยกตัวอย่างการทำธุรกิจการส่งออกมะม่วงจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยใช้บริการผ่านตัวแทนประเทศญี่ปุ่น

ในการทำธุรกิจแบบ Off-shore trade จะต้องมีตัวแทนของประเทศที่สาม นอกเหนือจากผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

ผู้ส่งออก : ประเทศไทย
นายหน้า : ประเทศญี่ปุ่น
ผู้นำเข้า : ประเทศสหรัฐอเมริกา

เรื่องการชำระเงิน ขั้นตอนการส่งสินค้าและการเตรียมเอกสาร คือสิ่งที่สำคัญในการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
โดยขั้นตอนเรื่องการจัดทำเอกสารจะมีความยากและซับซ้อนมากขึ้น

การค้าแบบ off-shore trade นั้น เรื่องการเงินและเอกสาร จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน
เรามาเจาะลึกแต่ละขั้นตอนกัน

อันดับแรก เรื่องการชำระเงิน
เมื่อทางนายหน้าประเทศญี่ปุ่นและผู้นำเข้าประเทศอเมริกาได้ทำการตกลงกันเรียบร้อยแล้วนั้น ทางผู้นำเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาจะทำการชำระเงินให้แก่นายหน้าชาวญี่ปุ่น

หลังจากนั้น นายหน้าชาวญี่ปุ่นจะชำระเงินให้แก้ผู้ส่งออกชาวไทย และออกเอกสาร invoice ให้แก่ผู้นำเข้าชาวอเมริกัน

ลำดับต่อไป ขั้นตอนการขนส่งสินค้า

Freight forwarder ชาวไทยจัดการเรื่องการส่งสินค้าให้แก่ Freight forwarder ชาวอเมริกัน
สินค้าจะถูกส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง โดยไม่ผ่านนายหน้าประเทศญี่ปุ่น

การค้าแบบ off-shore trade ทางผู้นำเข้าและผู้ส่งออก จะได้รับผลประโยชน์จากการใช้บริการผ่านตัวกลาง

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ส่งออก ;
• ลดระยะเวลาในการเจรจาต่อรองกับผู้นำเข้าและสามารถลดต้นทุนสำหรับการขายสินค้า
• ลดความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้ารายใหม่ โดยผ่านตัวกลางที่มีประสบการณ์

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้นำเข้า ;
• นายหน้าหรือตัวกลางสามารถเจรจาต่อรองเรื่องต้นทุนการขายและผู้นำเข้าสามารถลดต้นทุนการขายได้ เมื่อเทียบกับการนำเข้าสินค้าด้วยตนเอง
• ลดระยะเวลาการขนส่ง เนื่องจากสินค้าถูกส่งโดยตรงจากประเทศผู้ส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้า
• สินค้าจะไม่ผ่านประเทศที่สาม ดังนั้นจะไม่ถูกหักภาษี

สิทธิประโยชน์เหล่านี้ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจะได้รับเมื่อใช้การค้าแบบ off-shore trade

การค้าแบบ off-shore trade, นายหน้าจะต้องระมัดระวังในเรื่องการติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้นำเข้าและ Supplier
(ผู้จำหน่ายสินค้า) ซึ่งอาจนำไปสู่การติดต่อและซื้อขายกันเองในอนาคต

เพราะมีกรณีที่ทาง Supplier ให้ข้อมูลกับทางผู้นำเข้าโดยตรงในระหว่างการซื้อขายสินค้า

ในครั้งนี้ เรามีตัวอย่างของนายหน้าที่ติดต่อทำธุรกิจโดยไม่เปิดเผยข้อมูล Supplier และมีเทคนิคการค้าที่เป็นที่ยอมรับซึ่งสามารถใช้ได้ในสถานการณ์นี้
ซึ่งเรียกว่า การ Switch Invoice และ Switch B/L.

เอกสาร invoice ที่ออกโดยประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศส่งออกสินค้า มีลักษณะดังนี้ ,

• ผู้ขาย : บริษัทไทย
• ผู้ซื้อ : บริษัทอเมริกา
• ผู้ติดต่อ : บริษัทญี่ปุ่น

สำหรับการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก สินค้าถูกส่งโดยตรงจากประเทศผู้ส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้า

หากใช้เงื่อนไขเทอม CIF จะต้องออกเอกสาร Invoice ที่มียอดเรียกเก็บเงินทั้งหมด ซึ่งจะต้องรวมต้นทุนของสินค้า น้ำหนักและค่าประกันภัยสินค้า

แต่เอกสาร Invoice นี้จะไม่รวมกำไรของนายหน้าชาวญี่ปุ่น

เอกสาร invoice สำหรับการนำเข้าสินค้า ที่ออกโดยตัวกลางคือประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะดังนี้

・ผู้ขาย : บริษัทญี่ปุ่น
・ผู้ซื้อ : บริษัทอเมริกา

คุณอาจสังเกตเห็นว่า ข้อมูลของซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวกับประเทศไทย จะไม่รวมอยู่ในเอกสาร Invoice นี้
Invoice ประเภทนี้จะเรียกว่า การ Switch Invoice.

โดยจะแสดงความแตกต่างของค่าใช้จ่าย เพื่อให้เราสามารถเข้าได้ง่ายขึ้น

เราจะไม่สามารถส่งเอกสาร invoice ที่ใช้สำหรับการทำพิธีการศุลกากรขาออก ไปให้ประเทศผู้นำเข้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เพราะทางผู้นำเข้าชาวอเมริกัน จะพบความแตกต่างระหว่างของต้นทุนและราคาขายสินค้าของนายหน้าชาวญี่ปุ่น

สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือระหว่างนายหน้าและผู้นำเข้า ดังนั้น Freight forwarder จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องการจัดการเอกสาร Invoices.

เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการ switch invoice ไปแล้ว

ต่อไปคือการ Switch B/L ในการขนส่งสินค้า โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่งสินค้าให้กับผู้นำเข้า
ในการ Switch B/L เราสามารถใช้ชื่อบริษัทนายหน้าแทนชื่อบริษัทของผู้ส่งออกที่แท้จริง

ขั้นตอนในการ Switch B/L
อันดับแรก Freight forwarder ในประเทศไทย ที่ส่งออกสินค้าจะทำการออก B/L ซึ่งมีลักษณะดังนี้

・ ผู้ส่งออก : บริษัทไทย
・ ผู้นำเข้า : บริษัทญี่ปุ่น

และมีรายละเอียดดังนี้

สถานที่ต้นทางที่ส่งออก : ประเทศส่งออกสินค้าคือ ประเทศไทย
เมืองท่าปลายทาง : ประเทศนำเข้าสินค้า คือ สหรัฐอเมริกา

Original B/L จะถูกส่งไปยังนายหน้าชาวญี่ปุ่น

ต่อไปตัวกลางชาวญี่ปุ่นจะทำการ Switch B/L แล้วส่งไปยังผู้นำเข้าชาวอเมริกัน รายละเอียด มีดังนี้

・ผู้ส่งออก : บริษัทญี่ปุ่น
・ผู้นำเข้า : บริษัทอเมริกา

ในการใช้ switch invoice และ switch B/L,
สามารถป้องกันไม่ให้ผู้นำเข้าชาวอเมริกันพบข้อมูลซัพพลายเออร์ในประเทศไทยได้

ในการเอกสาร Master B/L เมื่อออกเอกสาร House B/L ที่สถานที่ต้นทางส่งออกในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

・ผู้ส่งออก : Freight forwarder ในประเทศไทย
・ผู้นำเข้า : Freight forwarder ในประเทศสหรัฐอเมริกา

จะแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเช่นเดียวกับข้อมูลการส่งสินค้า ความแตกต่างระหว่าง House B/L และ Master B/L สามารถรับชมได้จาก Link ใต้วิดีโอนี้

ต่อไปเรามาดูขั้นตอนการออกเอกสาร B/L และขั้นตอนการขนส่งสินค้าสำหรับการค้าแบบ off-shore trade

เอกสาร B/L จะถูกออกโดยประเทศไทย และจะส่ง original B/L ไปยังประเทศญี่ปุ่น
จากนั้น Freight forwarder ที่ญี่ปุ่น จะทำการ switch B/L.
B/L ที่ถูก switch เสร็จแล้วนั้น จะถูกส่งจากประเทศญี่ปุ่นไปยังประเทศอเมริกา
สินค้าจะถูกลำเลียงขึ้นเรือ ออกจากสถานที่ต้นทางที่ส่งออกจนถึงท่าเรือปลายทาง

ดังนั้น การค้าแบบ off-shore trade จะต้องจัดเตรียมเรื่อง B/L ให้รวดเร็วที่สุด

การใช้เอกสาร certificate of origin สำหรับการค้าแบบ off-shore trade.

คุณสามารถใช้ประโยชน์จากภาษีได้ หากการค้านั้นอยู่ในกลุ่มประเทศ FTA และ EPA เอกสารรับรองถิ่นกำเนิด จะถูกออกโดยประเทศผู้ส่งออกและส่งไปยังประเทศนำเข้าสินค้า

การค้าแบบ off-shore trade นั้น หากประเทศส่งออกและนำเข้าสินค้านั้น อยู่ในกลุ่มประเทศ FTA และ EPA, เราสามารถใช้ประโยชน์ได้ แม้ว่าเราใช้บริการผ่านตัวกลางก็ตาม

ในกรณีที่คุณต้องการเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศส่งออกสินค้า

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ถึงแม้ว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ส่งออกหรือ supplier โดยการใช้ switch invoice และ switch B/L แต่ข้อมูลของผู้ส่งออกจะถูกเขียนในเอกสารรับรองถิ่นกำเนิด

จะต้องทำความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ส่งออกในเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดให้ดี เพราะอาจเกิดปัญหาในภายหลังได้

ข้อดีของการค้าแบบ off-shore trade นั้นมีมากมาย แต่จะต้องคำนึงและระวังเรื่องการทำเอกสาร

หากเราส่งเอกสารผิดพลาด ข้อมูลต่างๆ อาจถูกเปิดเผยต่อผู้นำเข้า หากเราส่งเอกสารผิดพลาด ข้อมูลต่าง ๆ อาจถูกเปิดเผยต่อผู้นำเข้า นายหน้าและผู้ส่งออกจะสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้าหรือผู้นำเข้า

ในการใช้ off-shore trade จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ทำธุรกิจแต่ละราย เพราะจะต้องตรวจสอบรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้ละเอียด