[บทความนี้ เกี่ยวกับขั้นตอนในการขนส่งสินค้าทางเรือ
วิดีโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 12.05 นาที.
บทความนี้ เราจะอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนในการขนส่งสินค้าทางเรือ และเจาะลึกหัวข้อหลัก คือ การส่งสินค้าแบบ FCL หรือแบบเต็มตู้นั่นเอง
สงสัยกันหรือไม่ ว่าสินค้าขนส่งทางเรือได้อย่างไร ?
สิ่งที่สำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับการขนส่งโลจิกติกส์ทางเรือ นั่นคือ ต้องเข้าใจขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง
อันดับแรก เราอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมกันก่อน ว่ามีขั้นตอนการขนส่งอย่างไรและมีเอกสารสำคัญอะไรบ้าง
เรามาเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการทำงานที่โรงงานกันก่อน โรงงานอุตสาหกรรม จะมีการผลิตสินค้าเป็นประจำทุกวัน เมื่อผลิตเสร็จ ก็จะบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์
เพื่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ
ลูกค้าของบริษัทเราเอง ก็ใช้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ในการขนส่งสินค้าหลากหลายชนิด
เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, อาหารแช่แข็ง, กระดาษ, ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง, เครื่องสำอาง, เศษโลหะ,ชิ้นส่วนบรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆ
เมื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเสร็จแล้ว ตัวแทนของโรงงานก็จะส่ง Booking มายัง forwarder.
เพื่อทำการจองเรือ โดยจะส่งรายละเอียดของสินค้า เช่น ชนิดของสินค้า จำนวนตู้ ขนาดตู้ 20′ หรือ 40′ วันบรรจุสินค้า สถานที่บรรจุสินค้า เป็นต้น
เมื่อทำการจองเรือ และได้ Booking มาแล้ว รายละเอียดใน Booking จะระบุ Cut Off, ETD,ETA และ Free time.
หลังจากได้รับข้อมูลจากลูกค้าแล้ว forwarder จะมีหน้าที่จัดเตรียมเรือ รถบรรทุกสินค้า การทำพิธีการศุลกากร และยืนยันเอกสารสำคัญต่าง ๆ
โดยทั่วไปแล้ว ลูกค้าจะขอบริการแบบครบวงจร เพื่อความสะดวกสบายในการติดต่อและสอบถามข้อมูล
เราจะต้องตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด เพื่อความถูกต้องและป้องกันความผิดพลาดที่จะตามมา
หากเจ้าหน้าที่พบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้สินค้าของเราไม่สามารถขึ้นเรือได้
นอกจากนี้ หากใบรับรองถิ่นกำเนิด หรือ COA มีข้อผิดพลาด สินค้าจะไม่ได้รับอนุญาตสำหรับการลดภาษี
ดังนั้น เราจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับเอกสารทุกขั้นตอน
หลังจากนั้น เราจะต้องไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่ลานรับตู้ และนำไปบรรจุสินค้าที่สถานที่บรรจุสินค้าที่ลูกค้าได้แจ้งไว้
ในลานตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะเต็มไปด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของสายเรือต่าง ๆ ที่ถูกทำความสะอาดและถูกซ่อมแซมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในการไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่านั้น เราจะต้องตรวจสอบสภาพของตู้อย่างละเอียด ให้ตรงกับประเภทสินค้าและความต้องการของลูกค้า
โดยผู้ขับรถ จะเป็นผู้ตรวจสภาพตู้เบื้องต้นก่อนจะเข้าบรรจุที่โรงงานของลูกค้า
สำหรับลูกค้าบางราย อาจจะบรรจุสินค้าเป็นจำนวนหลายตู้ในแต่ละครั้ง เราจะต้องประสานงานกับผู้ขับรถเรื่องเวลาในการเข้าบรรจุ
เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบรรจุสินค้า
ในขณะบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ เราจะต้องมั่นใจว่าสินค้าจะไม่เคลื่อนย้ายในระหว่างการขนส่ง
หลังจากบรรจุสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ขับรถต้องนำตู้สินค้าไปคืนที่ท่าเรือที่ระบุไว้ใน Booking ภายในระยะเวลาที่กำหนดใน Booking หรือที่เรียกว่า Cutt off หรือ Closing time
วัน Cutt off หรือ Closing time คือ วันและเวลาที่จะต้องคืนตู้คอนเทนเนอร์ได้อย่างช้าที่สุด
ทางผู้ขับรถจะต้องนำตู้เข้าไปคืนที่ท่าเรือก่อนวันและเวลาที่ระบุไว้ในบุคกิ้ง
・AFR คือ การส่งข้อมูลของสินค้าล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น
VGM คือ การยืนยันปริมาณรวมของน้ำหนักทั้งหมดของสินค้าและสิ่งของทุกอย่างที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์ด้วย หรือเข้าใจง่ายๆว่า เป็นการยืนยันน้ำหนักตู้สินค้านั่นเอง
รวมถึงการทำพิธีการศุลกากรขาออก ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม
ตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมาก จะถูกรวบรวมอยู่ในเทอร์มินอล
ดังนั้น วันคัทออฟ มีความสำคัญ เพราะว่าเป็นตัวกำหนดเวลาในลำเลียงตู้ขึ้นและลงจากท่าเรือ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ถึงที่ท่าเรือ จะถูกยกขึ้นเรือโดยเครน
ลูกค้าบางคนเข้าใจว่า สามารถบรรจุน้ำหนักของตู้ 20 ฟุต 2 ตู้ ลงในตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุตได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สามารถบรรจุได้แค่ 25 ตัน ไม่ว่าจะเป็นตู้ขนาด 20 ฟุต หรือ 40 ฟุต
ในรูปภาพ เราจะเห็นว่าตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากถูกวางลงในพื้นที่ของเรือ
ในช่วงเทศกาลสำคัญ จะหา space ในการขนส่งสินค้ายากขึ้นกว่าเดิม
เอกสาร B/L จะออกหลังจากที่สินค้าขึ้นบนเรือไปแล้ว เรามาดูขั้นตอนการขนส่งสินค้ากันค่ะ
เอกสาร B/L ถูกออกโดย forwarder และจะส่งไปยังผู้ส่งออก
ในขณะเดียวกันผู้ส่งออกกับลูกค้า จะต้องตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อย
ในกรณีของ เอกสาร Original BL ผู้ส่งออกจะส่งเอกสาร B/L ไปยังลูกค้า โดยใช้บริการ courier เช่น DHL หรือ Fedex.
ดังนั้น ลูกค้าจะต้องมีเอกสาร B/L เพื่อไปแลก เอกสาร D/O
ในบางครั้ง สภาพอากาศที่แปรปรวนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรือเกิดความล่าช้า
การขนส่งสินค้าจะใช้ระยะเวลาไม่กี่วันในประเทศใกล้เคียง
แต่ในกรณีที่ขนส่งสินค้าไปประเทศที่ไกลออกไป ระยะเวลาก็จะมากขึ้นตามระยะทาง
ก่อนที่เรือจะถึงปลาย จะมีเอกสารที่เรียกว่า Arrival Notice ถูกส่งโดย forwarder ในฝั่งนำเข้าไปยังลูกค้า
Arrival Notice คือ ใบแจ้งว่าเรือจะมาถึง เป็นเอกสารที่ทางตัวแทนเรือ จะส่งไปแจ้งลูกค้า ว่าจะมีสินค้ามาถึงปลายทาง จะระบุค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ไว้
เรามาเจาะลึกขั้นตอนในการนำเข้าสินค้ากัน
ผู้นำเข้าสินค้า จะต้องได้รับเอกสาร D/O เป็นเอกสารใบสั่งปล่อยสินค้า ที่ทางสายเรือจะออกให้แก่ผู้นำเข้า
ดังนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าใช้จ่ายก่อนที่จะไปรับเอกสาร D/O
ในขณะเดียวกัน เอกสาร B/L ก็จะถูกส่งมาพร้อมกับ เอกสาร Arrival Notice.
ในกรณีที่ใช้ original B/L จะต้องส่งเอกสารตัวจริงไปให้ลูกค้าที่ปลายทาง แต่ถ้าใช้ Surrendered B/L ผู้ส่งออกสามารถแสกน และส่งไปให้ผู้รับปลายทาง เพื่อดำเนินการเคลียร์สินค้าได้โดยไม่ต้องใช้เอกสาร B/L ตัวจริง
หลังจากที่ผู้นำเข้าได้รับเอกสาร Arrival Notice จะต้องไปชำระค่าธรรมเนียมกับสายเรือ เพื่อให้สายเรือออกเอกสาร D/O เพื่อไปรับสินค้าจากท่าเรือที่นำเข้า
ในการไปรับสินค้าที่ท่าเรือ ผู้นำเข้าจะต้องเตรียมเอกสารในการทำพิธีการศุลกากรขาเข้าให้เรียบร้อย
เช่น เอกสาร Invoice, Packing List, Certificate of Origin หรือใบรับรองถิ่นกำเนิด เพื่อนำไปใช้เคลียร์สินค้าสำหรับการนำเข้า
หากพบปัญหาในการนำเข้าสินค้า เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
เมื่อผู้นำเข้าได้รับเอกสาร D/O และทำเคลียร์สินค้าเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถไปรับสินค้าได้ที่ลานรับตู้คอนเทอร์
เมื่อรถบรรทุกไปถึงปลายทาง และนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ถือเป็นการสิ้นสุดในการขนส่งสินค้า
เรามาย้อนกลับไปดูแต่ละขั้นตอนกัน
สินค้าถูกผลิตออกมาจากโรงงาน
มีคำขอการซื้อสินค้าจากลูกค้า
Forwarder เตรียมการจัดส่งสินค้า
ตรวจสอบเอกสารถูกต้องและครบถ้วน
รถหัวลากไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่า
และนำไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของลูกค้า
สินค้าถึงที่ท่าเรือ จากนั้นทำการส่งข้อมูล VGM และพิธีการศุลกากรขาออก
คอนเทนเนอร์โหลดขึ้นเรือ
เอกสาร B/L จะถูกออกหลังจากที่เรือออกจากท่าไปแล้ว
จึงจะถือว่าการขนส่งสินค้าทางเรือสิ้นสุด
หลังจากนั้น จะเป็นขั้นตอนในฝั่งผู้นำเข้า
เอกสาร Arrival Notice จะถูกส่งไป 2-3 วันก่อนวันที่เรือถึง
ผู้นำเข้าชำระค่าธรรมเนียมและส่งเอกสาร B/L.
หลังจากนั้นผู้นำเข้าจะได้รับเอกสาร D/O จาก ผู้ที่แจ้ง เอกสาร Arrival Notice
มาถึงการทำพิธีการศุลกากรนำเข้าและเคลียร์สินค้า
หลังจากนั้น จึงจะสามารถไปรับสินค้าได้
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สินค้าก็จะมาถึงมือของลูกค้าปลายทางเป็นที่เรียบร้อย
เป็นอย่างไรบ้าง..ในการขนส่งสินค้าในแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่เพียงแค่นำสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ยังมีเอกสารอีกมากมายที่จะต้องเตรียม
หากเอกสารผิดพลาด เราอาจจะไม่สามารถส่งสินค้าได้
ทางเรา จึงอยากให้ทุกท่านได้เข้าใจในขั้นตอนการขนส่งสินค้า เพื่อความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาดและดำเนินไปอย่างราบรื่น