ความแตกต่างในการคำนวณค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume weight และ Actual weight
Senior CatSenior Cat

ความแตกต่างในการคำนวณค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume weight และ Actual weight



Senior SeagullSenior Seagull

วิดิโอแอนนิเมชั่น มีความยาว 5:00 นาที

บทความนี้ เกี่ยวกับ ความแตกต่างในการคำนวณค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume weight และ Actual weight

Actual weight และ Volume weight คืออะไร
ในการคำนวณค่าระวางของการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น สามารถคำนวณโดยคิดได้จาก 2 ลักษณะ

Actual weight คือ การคำนวณจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ หรือน้ำหนักจริงของสินค้า และ Volume Weight คือการคิดจากขนาดของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า

เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Volume Weight ให้ดียิ่งขึ้น เราจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ Chargeable Weight ที่ใช้ในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไปพร้อมกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Chargeable Weight คือ น้ำหนักที่สายการบินใช้ในการคำนวณค่าระวาง ซึ่งเปรียบเทียบระหว่าง ขนาดสินค้า และน้ำหนักจริงของสินค้า โดยนำค่าทั้งสองมาเปรียบเทียบว่าค่าไหนมากกว่า ก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

ในการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ จะมีพื้นที่จำกัดในการจัดเก็บสินค้าและน้ำหนักของสินค้าที่สามารถรับได้ก็มีจำกัดเช่นกัน

ด้วยเหตุผลนี้ ในการขนส่งสินค้าทางเรือ ทางเครื่องบิน และพื้นที่โกดังสินค้า ถ้าจะคิดเพียงแค่ขนาดหรือน้ำหนักเพียงอย่างเดียวก็จะไม่ยุติธรรม

มีตัวอย่างดังนี้

เช่น หากคุณต้องการส่งน้ำขวด 1 ตัน และสำลี 1 ตัน โดยเครื่องบิน สินค้าชนิดใดที่จะใช้พื้นที่มากกว่ากัน ?

น้ำมีน้ำหนักมากแต่มีขนาดเล็ก แต่สำลีมีน้ำหนักเบาแต่มีขนาดสินค้าใหญ่ ซึ่งจะใช้พื้นที่จำนวนมากกว่า

สายการบินจะเสียกำไรอย่างมาก หากคำนวณค่าระวางสินค้าโดย Actual weight เพราะเนื่องจากการขนส่งสำลีนั้น จะใช้พื้นที่มากบนเครื่องบิน

ในการหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ เราจะใช้ volume weight มาคำนวณค่าระวางด้วยเช่นกัน การคิดคำนวนค่าระวางการขนส่งสินค้าทางอากาศ
จะใช้ Actual Weight และ Volume Weight โดยนำค่าทั้งสองมาเปรียบเทียบว่าค่าไหนมากกว่า ก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้

ในการคำนวณการขนส่งสินค้าทางเรือแบบ LCL หรือไม่เต็มตู้และค่าโกดังสินค้า มีกฎในการคำนวณ volume weight ดังนี้

1 คิวบิก เมตร = 1 ตัน

ยกตัวอย่าง เช่น กรณีที่สินค้ามี actual weight 1.5 ตัน

สินค้ามีขนาด กว้าง 0.9 เมตร ยาว 0.8 เมตร และสูง 1.7 เมตร , Volume weight เท่ากับ 1.22 คิวบิกเมตร

หากเราใช้กฎ 1 คิวบิกเมตร เท่ากับ 1 ตัน ดังนั้น 1.22 คิวบิกเมตร ก็จะเท่ากับ 1.22 ตัน

สินค้ามี Actual weight 1.5 ตัน และมี volume weight 1.22 ตัน
ในกรณีนี้ เราจะเลือกค่าที่มากกว่า ในการคิด Chargeable weight นั่นคือ 1.5 ตัน

ต่อไปคือการคำนวณ Volume Weight ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน

ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน จะมีกฎที่แตกต่างจากการขนส่งสินค้าทางเรือ

การคำนวณ Volume Weight ของสินค้า คือ ลูกบาศก์เซนติเมตร หาร 6,000 (kg).

บางสายเรือ อาจจะนำมาหาร 5,000 ซึ่งตัวเลขนี้ ทางสายเรือจะเป็นคนกำหนด

ยกตัวอย่างเช่น

สินค้ามี Actual weight 50 กิโลกรัม

ขนาดสินค้า กว้าง 90 cm ยาว 70 cm และ สูง 90 cm
Volume weight เท่ากับ 567,000 คิวบิกเซนติเมตร
เมื่อนำมา หาร 6,000 จะเท่ากับ 94.5 กิโลกรัม

Actual weight คือ 50kg และ volume weight คือ 94.5kg,
ดังนั้น Chargeable Weight จะเลือกค่าที่มากกว่า นั่นคือ volume weight 94.5 kg

ต่อไป เรามาลองทำแบบฝึกหัดกัน..

มีกล่องสินค้า ที่บรรจุขวดน้ำ 2 ลิตร จำนวน 12 ขวด และต้องการส่งสินค้าจำนวน 100 กล่องโดยเครื่องบิน
แต่ละกล่อง มีขนาด กว้าง 30 cm ยาว 90 cm และ สูง 40 cm , Chargeable Weight มีค่าเท่าไหร่

ในการคำนวณค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้า สามารถคำนวณโดยคิดจาก 2 ลักษณะ คือ volume weight และ actual weight.

วันนี้เราได้แนะนำวิธีการคิดแบบง่าย ๆ มาบอก เพื่อให้คุณได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้คร่าว ๆ
เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขนส่งสินค้าทุกประเภท

ทางเราอยากให้คุณผู้ชมได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาให้ได้มากที่สุด เพราะจะเป็นประโยชน์สำหรับการทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าของคุณเอง