INCOTERMS พื้นฐานมีอะไรบ้าง
วิดีโอนี้ มีความยาว 8:58 นาที
บทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ Incoterms คืออะไร
Incoterm มีทั้งหมด 11 ประเภท ซึ่งแต่ละเงื่อนไขจะมีความแตกต่าง โดยใช้ตัวย่อเป็นอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัว เช่น CFR และ FOB
ดูแล้วเหมือนจะเป็นเรื่องยากในการจำ Incoterms ทั้ง 11 แบบใช่มั้ย
แต่ไม่ต้องกังวลไป เราจะใช้เพียงแค่ 6 รูปแบบ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
อันดับแรก มาทำความรู้จักเงื่อนไข “incoterms” ? คืออะไร
ผู้นำเข้าหรือส่งออกควรทำความเข้าใจ INCOTERMS ให้ถูกต้อง เพราะต้องวางแผนเรื่องความเสี่ยงและภาระการดำเนินการขนส่ง เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกเป็นไปได้อย่างราบรื่นปราศจากปัญหาตามมา
ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะมีขั้นตอนในการขนส่งสินค้าที่แตกต่างกัน
หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ แล้ว ต่อไปเราจะอธิบายเกี่ยวกับระยะเวลาในการจ่ายเงินและระยะเวลาในการออกสินค้า
ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงกันว่าฝ่ายไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งและการทำประกัน
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
ต่อไป เราจะมาอธิบาย 6 Incoterms ที่เราใช้บ่อย ๆ ในการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
EXW, FOB, CFR, CIF, DAP, DDP.
โดยจะอธิบายแต่ละหัวข้อ ดังต่อไปนี้
อันดับแรก คือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ EX-Works.
EXW หรือ สามารถเรียกได้อีกชื่อนึงว่า Ex-Works ได้เช่นกัน
เงื่อนไขนี้ เป็นรูปแบบการขนส่งที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ขายสินค้า
ผู้ซื้อ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้าจากต้นทางรวมถึงทำพิธีการขาออก + ค่าเฟรท จนถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อ
และผู้ซื้อต้องรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อได้รับสินค้าไปแล้ว
ต่อไปคือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ FOB
การส่งสินค้าแบบ FOB คือ ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือ ณ เรือต้นทาง
หลังจากนั้นจะเป็นภาระของผู้ซื้อ ต้องรับความเสี่ยงทั้งหมดเมื่อได้รับสินค้าขึ้นเรือ ที่ท่าเรือต้นทาง
ผู้ขายดำเนินพิธีการขาออก ส่งเข้าไปในท่าเรือและโหลดขึ้นเรือ
ส่วนผู้ซื้อ รับผิดชอบค่าเฟรท จนถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อเอง
ต่อไป คือ เงื่อนไข CFR หรือ เรียกอีกชื่อว่า Cost and Freight
เงื่อนไขการขนส่งแบบ CFR คือ ผู้ขายจะรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด จนถึงท่าเรือปลายทาง
ส่วนผู้ซื้อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หลังจากสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง เช่น ค่าพิธีการศุลกากร, ค่ารถขนส่งจากท่าเรือไปยังโรงงานหรือสถานที่จัดเก็บของผู้ซื้อ
ก่อนจะพูดถึงภาระความรับผิดชอบสินค้าของเงื่อนไข CFR เราจะมาอธิบายเงื่อนไข CIF ให้เข้าใจกันก่อน
CIF เหมือนกับ CFR ผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสินค้าตั้งแต่หน้าโรงงาน จนถึงท่าเรือนำเข้าสินค้า
ความแตกต่างระหว่างสองเงื่อนไขนี้ คือ การทำประกัน ซึ่งตัวอักษร ”I” ย่อมาจากคำว่า ประกันภัย ผู้ขายต้องรับผิดชอบการทำประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งจนถึงปลายทาง
เราได้อธิบายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบของทั้ง 2 เงื่อนไข CFR และ CIF กันไปแล้ว
ความรับผิดชอบและการดูแลสินค้าจะเหมือนกับเงื่อนไข FOB คือ ผู้ขายส่งสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรือต้นทาง
ส่วนผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับสินค้าไปแล้ว
ต่อไป คือขั้นตอนการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยปกติแล้ว จะใช้เครนในการยกสินค้าขึ้นบนเรือ
โดยปกติแล้ว คอนเทนเนอร์ที่อยู่บนเรือนั้น จะมีหลากหลายประเภท และมีตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตราย ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ จนทำให้ตู้คอนเนเทนเนอร์อื่นได้รับความเสียหาย
ดังนั้น เราขอแนะนำว่าควรทำประกันภัยสำหรับการขนส่งสินค้าไว้ เพราะเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ
เราจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ถ้าได้ทำประกันภัยสินค้า เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าของว่า หากสินค้าเกิดความเสียหาย จะได้รับการชดใช้อย่างแน่นอน
เราจึงแนะนำให้ลูกค้าซื้อประกันภัยในการขนส่งสินค้าทุกครั้ง
ต่อไป คือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ DAP
ผู้ขาย เตรียมสินค้าและดำเนินพิธีการขาออก + ค่าเฟรทรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นที่ท่าเรือต้นทางจนถึงปลายทาง และจัดการขนส่งถึงโรงงานผู้ซื้อ
หรือสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บริการแบบ “Door to Door”.
ต่อไป คือ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ DDP
สำหรับเงื่อนไข DDP เหมือน DAP คือ ผู้ขายเตรียมสินค้าและดำเนินพิธีการขาออก ค่าขนส่งสินค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ท่าเรือต้นทางจนถึงปลายทาง และจัดการขนส่งถึงประตูโรงงานผู้ซื้อ
แต่จะต่างตรงที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าภาษีนำเข้าให้ผู้ซื้อด้วย
เงื่อนไขการขนส่งสินค้า แบบ DAP ผู้ซื้อจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องค่าภาษีนำเข้า
ในทางกลับกัน ผู้ขายหรือผู้ส่งออก จะรับผิดชอบเรื่องค่าภาษีนำเข้าและภาษีการบริโภค
ผู้ขายจะรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีและการจัดส่งสินค้า
ต่อไป เราจะมาพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ใน Incoterms
เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ EXW ผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองในการขนส่งสินค้าจากต้นทาง จนถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อ
เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ FOB ผู้ขายหรือผู้ส่งออก เตรียมสินค้าและดำเนินพิธีการขาออก จัดส่งเข้าไปในท่าเรือและโหลดขึ้นเรือ
ส่วนผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า ต้องรับผิดชอบค่าขนส่งสินค้า จนถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อเอง
เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ CFR และ CIF ผู้ส่งออก ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนถึงยกตู้ขึ้นเรือ
ผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อ ต้องรับผิดชอบตั้งแต่เรือถึงปลายทางและตู้ยกลง จนถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อเอง
ลำดับสุดท้าย เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ DAP และ DDP ผู้ส่งออกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และจัดการขนส่งถึงโรงงานผู้ซื้อ
เงื่อนไข DAP ผู้นำเข้า ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าภาษีนำเข้า แต่ เงื่อนไข DDP ผู้ส่งออก ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าภาษี
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนความรับผิดชอบสินค้า ถูกกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับ Incoterms? นี่คือเงื่อนไขทั้ง 6 ประเภท ที่ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับผู้ซื้อและผู้ขาย
หากคุณทำงานอยู่ในโรงงานหรือบริษัท Trading ควรจะเลือกเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณเอง
หากคุณคือ บริษัท Forwarder ก็ควรทำความเข้าใจ INCOTERMS หรือข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ไว้ให้ถูกต้อง เพื่อใช้ในการอธิบายให้กับลูกค้า เพื่อให้การนำเข้าส่งออกเป็นไปได้อย่างราบรื่นปราศจากปัญหาตามมา