บทความนี้ เกี่ยวกับ “Free Time” และ “Detention” คืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร
วิดีโอแอนนิเมชั่นนี้ มีความยาว 6.09 นาที
บทความในวันนี้ เกี่ยวกับ “Free Time” และ “Detention” คืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร
ในการขนส่งสินค้าทางเรือแบบ FCL จะต้องคำนึงถึง “Free Time”.คือ ระยะเวลาที่ตู้คอนเทนเนอร์อยู่ที่ท่าเรือ
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งปกติแล้ว Free time จะอยู่ที่ 7-14 วัน เมื่อระยะเวลา Free time หมดลง จะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า “Demurrage” และ “Detention” เกิดขึ้น
มาเจาะลึกรายละเอียดของ Free time
“Free Time” คืออะไร คือ ระยะเวลาที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถอยู่ที่ท่าเรือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปกติแล้วจะมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 7-14 วัน สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไป
บริษัทของเราสามารถขยายระยะเวลาได้ถึง 21 วัน สำหรับท่าเรือปลายทางของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งระยะเวลา Free time ของแต่ละสายเรือ จะมีความแตกต่างกัน
สำหรับระยะเวลา “Free Time” ของตู้คอนเทนเนอร์ชนิด reefer, open top container และ flat rack container จะมีระยะเวลาน้อยกว่า 7 วัน
บริษัทของเราสามารถขยายระยะเวลาได้ถึง 21 วัน สำหรับท่าเรือปลายทางของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งระยะเวลา Free time ของแต่ละสายเรือ จะมีความแตกต่างกัน
ในกรณีที่ต้องการขยายระยะเวลา Free Time สามารถทำการตรวจสอบและแจ้งจองล่วงหน้ากับ Freight Forwarder ที่จะทำการจองเรือให้ ว่า ต้องการ Free time กี่วัน เพราะระยะเวลา Free time ของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์มาถึงที่ท่าเรือ เราจะใช้ระยะ Free time จัดการกับกรณีต่าง ๆ ดังนี้
ใช้สำหรับการเคลียร์พิธีการศุลกากร
เมื่อไม่มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าที่โรงงาน
สำหรับการจัดการลากตู้สินค้า
ท่าเรือไม่ใช่สถานที่เก็บสินค้า ดังนั้น ควรที่จะเคลียร์สินค้าให้เสร็จสิ้นทันที เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ลำดับต่อไป “Demurrage” คืออะไร ? คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ออกจากท่าเรือตามเวลาที่กำหนด
อย่างที่ได้บอกไป ว่าท่าเรือไม่ใช่โกดังเก็บตู้คอนเทนเนอร์ และมีพื้นที่จำกัด
ดังนั้น หากใช้พื้นที่ในท่าเรือเกินกว่าระยะเวลาที่ทางสายเรือกำหนด ก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามอัตราที่สายเรือกำหนดไว้
ตัวอย่างการคิดค่าค่าใช้จ่าย “Demurrage” ในญี่ปุ่น
วันที่ 1-3 : วันละ 13,000 yen ต่อ 1ตู้ 40 ฟุตคอนเทนเตอร์
วันที่ 4-6 : เพิ่มขึ้นเป็น 25,000 yen ต่อตู้คอนเทนเนอร์ต่อ 1 วัน
หลังจากวันที่ 7 เป็นต้นไป : จะเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 yen ต่อตู้คอนเทนเนอร์ต่อ 1 วัน
หากตู้คอนเทนเนอร์ถูกเก็บไว้ที่ท่าเรือนานเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น ถ้ามีตู้คอนเทนเนอร์เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เสียเงินมากขึ้น
ต่อไป มารู้จักกับ “Detention” “Detention” คือ เมื่อนำตู้ออกมาจากเทอร์มินอลแล้ว จะต้องโหลดสินค้าออกจากตู้และนำตู้เปล่าไปคืนที่ลานคืนตู้ตามเวลาที่กำหนด
หากเกินระยะเวลา จะมีค่าใช้จ่ายที่คืนตู้คอนเทนเนอร์ให้กับสายเรือไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด ดังนั้นสายเรือ จึงจำเป็นต้องกำหนด Detention เพื่อให้ได้รับตู้คืนเร็วที่สุด และระยะเวลาของ Detention นั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายเรือ
ตัวอย่าง สำหรับการคำนวณค่าใช้จ่าย “Free Time” and “Detention”
ระยะเวลา “Free Time” คือ 14 วัน และ ระยะเวลา “Detention” คือ 7 วัน
ประมาณการของวันที่เรือจะเข้าถึงท่าปลายทาง คือ 1 พฤษภาคม
คอนเทนเนอร์ถูกยกลงจากเรือและลงไปวางไว้ที่ลาน วันที่ 3 พฤษภาคม
ในกรณีนี้ มีระยะเวลา Free time ไปจนถึง 17 พฤษภาคม
สำหรับบางประเทศ จะคิดระยะเวลา Free time จากวัน ETA
บางสายเรือคิดหลังจากวันที่เรือมาถึงปลายทางแล้ว ดังนั้น ควรตรวจสอบก่อนล่วงหน้า
ในกรณีที่คุณไปรับตู้คอนเทนเนอร์ วันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายของ Free time ดังนั้น “Detention” จะคิดหลังจากวันที่นำตู้คอนเทนเนอร์ออกจากท่าเรือ โดยวันสุดท้าย คือ 24 พฤษภาคม
ปกติแล้ว ลูกค้าของบริษัทเราจะไม่ใช้ระยะเวลา “Detention” จนครบกำหนด
ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับ “Free Time”.
ลูกค้าบางราย ไม่สามารถเคลียร์สินค้าได้ทันเวลา “Free Time”
โดยเฉพาะกรณีการเดินพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าสินค้าครั้งแรกอาจจะมีติดขัดบ้าง ติดเรื่องใบอนุญาตนำเข้า หรือเอกสารที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจทำให้ใช้ระยะเวลานาน
ในกรณีที่มีความผิดพลาดกับเอกสาร B/L จะมีค่าแก้ไขเอกสารและค่าใช้จ่าย “Demurrage” เกิดขึ้น
ดังนั้นก่อนการนำเข้าสินค้าใหม่ จะเจรจาหาข้อตกลงกับทาง freight forwarder เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ
เราได้ทำความรู้จักกับ “Free Time”, “Detention”, และ “Demurrage”
ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก “Free Time” เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย “Demurrage ได้
พวกเรา ในฐานะ freight forwarder ที่คลุกคลีอยู่ในวงการโลจิสติกส์มานาน พบปัญหาเกี่ยวกับการสินค้าและเอกสารที่ผิดพลาดมาหลายครั้ง
ดังนั้น “Free Time”จึงมีความสำคัญมาก สำหรับการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
และขอแนะนำว่าให้ตรวจสอบรายละเอียดและเตรียมเอกสารล่วงหน้าก่อนการทำธุรกิจ