การขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในประเทศไทย
Senir CatSenir Cat

การขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในประเทศไทย



Senior SeagullSenior Seagull

สามารถกดเข้าไปรับชมวิดิโอแอนนิเมชั่นสุดน่ารัก เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น

ในการนำเข้าสินค้าอาหาร เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

หากไม่มีใบอนุญาตที่ออกโดยกฎหมายการนำเข้าอาหารของประเทศไทย ก็จะไม่สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารได้ ถึงแม้ว่าอาหารเหล่านั้น จะมีการซื้อขายตามท้องตลาดในต่างประเทศก็ตาม

บริษัทของเรามีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้าประเภทอาหารสด ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และแอลกอฮอล์ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะต้องขึ้นทะเบียนนำเข้ากับทาง อย.ทุกประเภท

ต่อไป คือตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนสินค้ากับทาง อย. ของบริษัทเรา

ในการส่งเอกสารกับทางเจ้าหน้าที่ จะต้องพูดคุยและสอบถามรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเตรียมเอกสาร

ปัญหาที่สามารถพบได้ในระหว่างการขึ้นทะเบียนสินค้า สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับการรวมรวมเอกสารต่าง ๆ
คือ กระบวนการอาจจะไม่ซับซ้อนแต่อาจจะใช้ระยะเวลานานในการเตรียมและแก้ไขเอกสาร

การไปพบเจ้าหน้าที่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เกิดผลงาน และทำให้ทุกฝ่ายเกิดความพึงพอใจ

หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องการจัดการเอกสาร สามารถให้หน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนมาดำเนินการแทน ซึ่งจะสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณคำนึงถึงจุดประสงค์หลักของการนำเข้าสินค้าและอาหาร, การจัดโปรโมชั่น เพื่อดึงความสนใจ
และการดำเนินการขาย

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขออย.

ประเภทของอาหาร มีมากมายหลายชนิด อาหารบางประเภท มีส่วนประกอบของส่วนผสมที่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กและทารก
ในการควบคุมผลิตภัฑณ์อาหารให้ปลอดภัยนั้น สินค้าบางประเภทจะต้องมีเอกสารรับรองเฉพาะ เพื่อส่งให้กับ อย.ในการตรวจสอบ

หากคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางองค์กรที่ต้องร่วมงานด้วย ก็จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานกันได้อย่างราบรื่น
ไม่มีปัญหาตามมา

กระบวนการขึ้นทะเบียนกับทาง อย.ในประเทศไทย

ต่อไปเรามาดูขั้นตอนที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนและนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเข้ามาในประเทศไทย

1. ขอรับใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
2. ขอรับใบอนุญาตนำเข้าอาหาร
3. ขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหารกับทาง อย.
4. ขึ้นทะเบียนสินค้ากับทาง อย.

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนนี้เป็นกฎพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ

หากต้องการนำเข้าสินค้าเข้ามายังประเทศไทย คุณจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า จะต้องขึ้นทะเบียนในนามนิติบุคคล ไม่ใช่ในนามบุคคลธรรมดา

ในกรณีที่บริษัทไม่เคยนำเข้าสินค้ามาก่อน จะต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าก่อนให้เรียบร้อย หรือสามารถให้ตัวแทนนำเข้าสินค้ามาดำเนินการแทนได้

ใบอนุญาตนำเข้าอาหาร ในการนำเข้าสินค้าอาหารนั้น จะต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ เพื่อนำเข้านำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเช่นกัน

Tในการยื่นอย. จะต้องเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

• หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ฉบับล่าสุด อายุไม่เกิน 6 เดือน
• สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ
• บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
• หนังสือรับรองการทำงาน
• แผนที่หรือแผนผังที่ตั้งโกดังสินค้า
• หนังสือสัญญาเช่าโกดังสินค้า
• แผนที่โดยรอบของโกดังสินค้า
• ตรายางบริษัท

หลังจากส่งเอกสารครบถ้วน จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการดำเนินการ

การเตรียมโกดังสินค้า ในการยื่นเอกสารกับทางอย. จะต้องเตรียมโกดังสินค้า เพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร
และต้องจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโกดังเพื่อขึ้นทะเบียนสินค้า

สินค้าบางประเภท เช่น อาหารสด จำเป็นต้องมีโกดังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า

ในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ จะต้องเตรียมโกดังสินค้าให้เหมาะสมกับปริมาณสินค้า
สามารถติดต่อและสอบถามบริการจากบริษัทเราได้

การขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหาร

หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าสินค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ คือการยื่นเอกสารสำหรับการขึ้นทะเบียนสินค้าแต่ละประเภทที่ต้องการนำเข้า

ทางลูกค้าจะต้องแจ้งประเภทของสินค้า เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และอื่นๆ จึงจะทราบว่าต้องขึ้นทะเบียนสินค้าประเภทไหน

ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณต้องการนำเข้าสินค้าประเภท อาหารแปรรูป เช่น
• ซุปมิโซะ
• ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง
• มะกอกเขียวดอง

หากขึ้นทะเบียนประเภทอาหารแปรรูป จะไม่สามารถนำเข้าสินค้าเหล่านี้ได้ เช่น
• กะหล่ำปลี
• เนื้อวัว
• แซลมอน

สำหรับประเภทนี้ เอกสารที่ต้องเตรียมระยะเวลาการดำเนินการ อาจมีความแตกต่างกัน

การขึ้นทะเบียนสินค้ากับทาง อย. หลังจากขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหารเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการขึ้นทะเบียนสินค้าที่ต้องการนำเข้า

จะต้องเตรียมเอกสารเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภท ดังนี้

1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปภาพสินค้า
3. ฉลากสินค้า
4. ใบรับรองสินค้า เช่น GMP/ HACCP / ISO
5. เอกสารวิเคราะห์สินค้า
6. กระบวนการผลิต
7. ตัวอย่างสินค้า

หลังจากยื่นเอกสารครบ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1-2 อาทิตย์

บริษัทของเรามีประสบการณ์และเชี่ยวชาญทางด้านการขึ้นทะเบียนสินค้ากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในประเทศไทย จากประสบการณ์ของพวกเรา กระบวนการทำงานอาจจะไม่ซับซ้อนแต่อาจจะใช้ระยะเวลานานในการเตรียมและแก้ไขเอกสาร

ปัจจุบัน อาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับคนไทย และมีหลายบริษัท ที่กำลังขยายธุรกิจมายังประเทศไทย

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีคำถามเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจนำเข้าอาหารมาในประเทศไทย สามารถติดต่อเราได้