ผู้ชำนาญการศุลกากรมีหน้าที่อะไรบ้าง ?
หากคุณไม่ได้อยู่ในแวดวงของการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ ก็อาจจะไม่คุ้นเคยว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรมีหน้าที่อะไรบ้าง
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า มีหน้าที่ในการลดภาษีศุลกากรและอาจจะไม่เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำงาน
ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจ
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ ผู้ชำนาญการศุลกากร
ภาพรวมของผู้ชำนาญการศุลกากร
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะมีความชำนาญในด้านการทำพิธีการศุลกากร
โดยจะได้รับงานมาจากบริษัทต่างๆ ผู้ส่งออกสินค้า ผู้นำเข้าสินค้า
และมีหน้าที่ส่งเอกสาร เพื่อรับการอนุมัติเมื่อมีการนำเข้าและส่งออกสินค้า
หน้าที่ของผู้ชำนาญการศุลกากร
ขั้นตอนการทำใบขนสินค้า คือหน้าที่ของผู้ชำนาญการศุลกากร
เมื่อได้รับเอกสารมาจากลูกค้าแล้ว หลังจากนั้นจะส่งเอกสารและข้อมูลไปยังกรมศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
เอกสารที่ผู้ชำนาญการศุลกากรจะได้รับมาจากลูกค้าคือ invoice, packing list และเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
หลังจากนั้นจะเป็นตัวแทนผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในการส่งข้อมูลและเอกสารไปยังกรมศุลกากร
และเข้ารับการตรวจสอบและการอนุมัติจากกรมศุลกากร
ขอแนะนำให้เตรียมเอกสารที่ถูกต้อง เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการทำงาน
การทำใบขนสินค้าขาเข้าและขาออก
ทางเรารู้สึกว่าการทำใบขนสินค้าขาเข้าจะมีความเข้มงวดมากกว่าการทำใบขนสินค้าขาออก
เพราะมีสินค้าต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเข้ามาในประเทศได้ เช่น อาวุธและสารเสพติด
เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับการทำใบขนสินค้าขาเข้ากัน
・Invoice
・Packing list
・B/L
・Arrival Notice
・เอกสารข้อมูลและรายละเอียดของสินค้า
・เอกสารรับรองถิ่นกำเนิด
・ใบอนุญาต
ในการนำเข้าสินค้า จะต้องเตรียมเอกสารและส่งให้กับผู้ชำนาญการศุลกากร
พิกัดอัตราศุลกากร
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสาร invoice และตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร
HS CODE หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วย รหัสตัวเลข 9 หลัก
หลังจากนั้นจะตรวจสอบภาษีนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ และข้อตกลงทางการค้าที่สามารถนำมาลดภาษีได้ เช่น EPA
ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการนำเข้ามะม่วง จากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น สามารถใช้ EPA ในการลดภาษีได้ 0%
HS CODE ของมะม่วง คือ 0804.50-011.
ระบบในการส่งข้อมูล
กรมศุลกากรและตัวแทนออกของจะแจ้งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกว่า NACCS
แต่ในประเทศไทย จะเรียกว่า EDI.
เมื่อทางผู้ชำนาญการศุลกากรใส่ข้อมูล HS code และ มูลค่าสินค้าแล้ว ค่าภาษีจะถูกคำนวณโดยอัตโนมัติ
การทำใบขนสินค้าขาเข้า
หน้าที่ของผู้ชำนาญการศุลกากร อาจจะดูง่ายและไม่ซับซ้อน
ในการทำเอกสารแต่ละฉบับ อาจใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที
แต่ทางกลับกันอาจใช้ เวลามากกว่า 1 วัน เพื่อจัดการเอกสารทั้งหมดให้เสร็จสมบูรณ์
ในมีบางงานที่มีสินค้ามากกว่า 100 รายการในเอกสาร invoice เจ้าหน้าที่จะต้องระบุพิกัด HS code
และอัตราภาษีสำหรับแต่ละรายการ
ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานานในการทำเอกสาร
สินค้าบางรายการง่ายต่อการระบุพิกัด HS code แต่บางรายการก็ไม่ง่ายที่จะหาพิกัดให้เหมาะสมที่สุด
ในกรณีนี้ เราขอแนะนำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้า
เพราะในการระบุพิกัดสินค้านั้น จะเกี่ยวข้องกับอัตราภาษี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้า
การทำใบขนสินค้านำเข้าในประเทศญี่ปุ่น
ในประเทศญี่ปุ่น มีการทำใบขนสินค้าขาเข้า ทั้งหมด 3 รูปแบบ
1. รูปแบบที่สามารถได้รับการอนุญาตทันที
2. รูปแบบที่ตรวจสอบเอกสารแล้ว ได้รับการอนุญาต
3. รูปแบบที่ตรวจสอบเอกสารและตรวจสอบสินค้าจากนั้นจะได้รับอนุญาต
เมื่อเรากดปุ่มส่งในระบบ NACCS แล้ว ตัวเลข 1,2, หรือ 3 จะแสดงตัวเลขแบบสุ่มบนหน้าจอ
หากแสดงตัวเลข 1 ก็จะได้รับอนุญาตทันที หากแสดงตัวเลข 2 หรือ 3 จะต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญเพื่อทำการตรวจสอบ
หลังจากส่งเอกสารให้กรมศุลกากร และรอให้ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา
หากเอกสารไม่มีปัญหา ก็จะได้รับการอนุญาตปล่อยสินค้า แต่ถ้าหากต้องตรวจสอบสินค้า ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
การตรวจสอบสินค้า
ในการตรวจสอบสินค้า ทางเจ้าที่ศุลลากรและตัวแทนเดินพิธีการจะกระทำร่วมกัน
ปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะ เข้มงวดและให้ความสำคัญมาก ในระหว่างการตรวจสอบสินค้า
โดยเจ้าหน้าที่จะสุ่มเลือกกล่องสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์ และทำการตรวจสอบสินค้าภายในกล่อง
ว่าบรรจุสินค้าและมีจำนวนสินค้าทั้งหมดตรงกับตามเอกสาร Invoice
หากพบปัญหาเกี่ยวกับสินค้า ทางตัวแทนเดินพิธีการจะประสานงานกับเจ้าของสินค้า เพื่อขอรายละเอียดและส่งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร
Summary
ผู้ชำนาญการศุลกากรสามารถให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และลดปัญหาความผิดพลาดอันที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัทได้ในภายหลัง
สามารถคำนวณและตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ
ทางเราขอแนะนำให้จัดเตรียมเอกสารที่ถูกต้องและเอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร
เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการทำงานค่ะ