ในการนำเข้าสินค้าอาหาร เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
หากไม่มีใบอนุญาตนำเข้าที่ออกให้ตามกฎหมายอาหารของประเทศไทย จะไม่สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารมายังประเทศไทยได้
ถึงแม้ว่าอาหารเหล่านั้น จะมีการซื้อขายตามปกติในต่างประเทศก็ตาม
บริษัทของเรามีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้า กับสินค้าประเภทอาหารสด ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และแอลกอฮอล์
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะถูกขึ้นทะเบียนกับทาง อย.ทุกชนิด
ต่อไป คือตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนสินค้ากับทาง อย. ของบริษัทเรา
ในการส่งเอกสารกับทางเจ้าหน้าที่ จะต้องพูดคุยและสอบถามรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันความผิดพลาดของการเตรียมเอกสาร
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนอาหารในประเทศไทย
หลังจากดูแล้ว คุณจะเข้าใจมากขึ้น
ปัญหาที่สามารถพบได้ในระหว่างการขึ้นทะเบียนสินค้า
สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับการรวมรวมเอกสารต่าง ๆ คือ กระบวนการอาจจะไม่ซับซ้อนแต่อาจจะใช้ระยะเวลานานในการเตรียมและแก้ไขเอกสารทั้งหมด
อีกทั้งเรื่องการไปพบเจ้าหน้าที่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เกิดผลงาน
และทำให้ทุกฝ่ายเกิดความความพอใจ
หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องการจัดการเอกสาร สามารถให้หน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนมาดำเนินการแทน ซึ่งจะสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
สิ่งนี้จะช่วยทำให้คุณสามารถช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์หลักในการนำเข้าสินค้าและการส่งเสริมการขาย
บทความเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
ทางผู้เขียน มีประสบการณ์ในการทำพิธีการขาเข้าสำหรับการนำ …
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอ อย.
ประเภทของอาหาร มีมากมายหลายชนิด ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท มีส่วนประกอบของส่วนผสมที่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย
เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กและทารก
ในการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารให้ปลอดภัยนั้น , สินค้าบางประเภทจะต้องมีเอกสารรับรองเฉพาะ เพื่อส่งให้กับ อย.ในการตรวจสอบ
ทางลูกค้าจะต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้า
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
หากคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางองค์กรที่ต้องร่วมงาน ก็จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานกันได้อย่างราบรื่น ไม่มีปัญหาตามมา
กระบวนการขึ้นทะเบียนกับทาง อย.ในประเทศไทย
ต่อไปเรามาดูขั้นตอนที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนและนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเข้ามาในประเทศไทย
1. ขอรับใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
2. ขอรับใบอนุญาตนำเข้าอาหาร
3. ขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหารกับทาง อย.
4. ขึ้นทะเบียนสินค้าที่ต้องการนำเข้ากับทาง อย.
1. ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
ขั้นตอนนี้เป็นกฎพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ หากต้องการนำเข้าสินค้าเข้ามาประเทศไทย คุณจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า
จะต้องขึ้นทะเบียนในนามนิติบุคคล ไม่ใช่ในนามบุคคลธรรมดา
ในกรณีที่บริษัทของคุณไม่เคยนำเข้าสินค้ามาก่อน จะต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าก่อนให้เรียบร้อย หรือสามารถให้ตัวแทนนำเข้าสินค้ามาดำเนินการแทนได้
2. ใบอนุญาตนำเข้าอาหาร
ในการนำเข้าสินค้าอาหารนั้น จะต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ เพื่อนำเข้านำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเช่นกัน
1. “Cargo import license” 2. “Food import license” เป็นสิ่งสำคัญ
・ หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ฉบับล่าสุด อายุไม่เกิน 6 เดือน
・ สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ
・ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
・ หนังสือรับรองการทำงาน
・ แผนที่หรือแผนผังที่ตั้งโกดังสินค้า
・ หนังสือสัญญาเช่าโกดังสินค้า
・ แผนที่โดยรอบของโกดังสินค้า
・ ตรายางบริษัท
หลังจากส่งเอกสารครบถ้วน จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการดำเนินการ
การเตรียมโกดังสินค้า
ในการยื่นเอกสารกับทางอย. จะต้องเตรียมโกดังสินค้า เพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร
ถึงแม้ว่า คุณจะจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าทันทีเลยก็ตาม
และต้องจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโกดังเพื่อขึ้นทะเบียนสินค้า ซึ่งปกติแล้วลูกค้าจำเป็นต้องมีคลังสินค้าสำหรับทำความเย็นและห้องเย็นเพื่อจัดเก็บสินค้า
ในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ จะต้องเตรียมโกดังสินค้าให้เหมาะสมกับปริมาณสินค้า
สามารถติดต่อและสอบถามบริการจากบริษัทเราได้
3. การขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหาร
หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าสินค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ คือการยื่นเอกสารสำหรับการขึ้นทะเบียนสินค้าแต่ละประเภทที่ต้องการนำเข้า
ทางลูกค้าจะต้องแจ้งประเภทของสินค้า เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และอื่นๆ จึงจะทราบว่าต้องขึ้นทะเบียนสินค้าประเภทไหน
ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณต้องการนำเข้าสินค้าประเภท อาหารแปรรูป เช่น;
・ ซุปมิโซะ
・ ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง
・ มะกอกเขียวดอง
แต่จะไม่สามารถนำเข้าสินค้า ดังต่อไปนี้;
・ กะหล่ำปลี
・ เนื้อวัว
・ แซลมอน
สำหรับประเภทนี้ เอกสารที่ต้องเตรียมระยะเวลาการดำเนินการ อาจมีความแตกต่างกัน
4. การขึ้นทะเบียนสินค้ากับทาง อย.
หลังจากขึ้นทะเบียนแยกประเภทอาหารเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการขึ้นทะเบียนสินค้าที่ต้องการนำเข้า
จะต้องเตรียมเอกสารเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภท ดังนี้
1.ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปภาพสินค้า
3. ฉลากสินค้า
4. ใบรับรองสินค้า เช่น GMP/ HACCP / ISO
5. เอกสารวิเคราะห์สินค้า
6. กระบวนการผลิต
7. ตัวอย่างสินค้า
การยื่นเอกสารอาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท่านใด
หลังจากยื่นเอกสารครบ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1-2 อาทิตย์
สรุป
บริษัทของเรามีประสบการณ์และเชี่ยวชาญทางด้านการขึ้นทะเบียนสินค้ากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในประเทศไทย
จากประสบการณ์ของพวกเรา กระบวนการทำงานอาจจะไม่ซับซ้อนแต่อาจจะใช้ระยะเวลานานในการเตรียมและแก้ไขเอกสาร
ปัจจุบัน อาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับคนไทย และมีหลายบริษัท ที่กำลังขยายธุรกิจมายังประเทศไทย
หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีคำถามเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจนำเข้าอาหารมาในประเทศไทย
สามารถติดต่อเราได้ตลอดค่ะ