บทความนี้ จะเกี่ยวกับประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ ที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ มาทำความรู้จักประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ ว่ามีแบบไหน และขนาดเท่าไหร่กันบ้าง
เราขนส่งสินค้าหลากหลายชนิด อาทิ เช่น อาหาร สินค้าอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ดังนั้น เราต้องเลือกตู้คอนเทนเนอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าแต่ละชนิด
วิดีโอแอนนิเมชั่น
กดเข้าไปชมรายละเอียดได้เลย!
ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์
อันดับแรก มารู้จักประเภทของตู้กันก่อน
Dry container / Reefer container / Open Top container / Flat Rack container / ISO Tank container.
ตู้แต่ละประเภท จะมี 2 ขนาด คือ ตู้ 20′ foot และ ตู้ 40′ foot containers.
“Foot” ในทีนี้ หมายถึง “ความยาวของตู้”.
ดังนั้น ตู้ 20 foot มีความยาวประมาณ 6 เมตร และ ตู้ 40 ฟุต มีความยาวประมาณ 12 เมตร.
เรามาดูความแตกต่างของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท
Dry Container
อันดับแรกคือ Dry container. Dry container คือ ตู้คอนเทนเนอร์แบบทั่วไปที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ที่เหมาะสำหรับสินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องการควบคุมในการขนส่งสินค้า
และใช้สำหรับการขนส่งสินค้าประเภทอันตรายเช่นกัน
เราอยากให้ทางผู้อ่านเข้าใจก่อน ว่าปกติแล้ว Dry container คือ ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
Reefer Container
ต่อไป, Reefer container. Reefer container ตู้ประเภทนี้ เป็นตู้สินค้าที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น และมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า .
ปกติแล้วอุณหภูมิจะอยู่ที่ -30 ถึง +30 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าแต่ละเจ้า
และสามารถรรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์ให้คงที่ได้
จะใช้บรรจุสินค้าประเภทอาหารทะเลหรือสินค้าอันตรายที่ต้องควบคุมความเย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสม
Open Top Container
ต่อไปคือ Open top container, ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ โดยจะไม่มีหลังคา
ออกแบบมาให้ด้านบนเปิดโล่ง เหมาะสำหรับขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ หรือสูงเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
ในการนำสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์จะใช้ เครนอุตสหกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายของสินค้า.
ในระหว่างการขนส่งจะมีการคลุมผ้าใบไว้เพื่อไม่ให้สินค้าได้รับได้รับความเสียหายจากฝน!
Flat Rack Container
ต่อไปคือ Flat rack container, เป็นคอนเทนเนอร์แบบพื้นราบ ที่มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดของตู้สินค้ามาตรฐาน เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง
ออกแบบมาเพื่อบรรจุสินค้าลักษณะพิเศษ ทั้งที่กว้างเกินไป และสูงเกิน
และยังสามารถบรรจุสินค้าที่มีขนาดไม่เกินพื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ได้เช่นกัน
ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ จะสะดวกต่อการโหลดสินค้า เพราะเป็นตู้เปิดโล่ง
ซึ่งสามารถใช้ Flat rack container กับสินค้าประเภทที่ไม่เกินพื้นที่ของตู้ เพราะในบางโรงงาน ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียงพอ.
ดังนั้น การใช้ Flat rack container จึงสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า
พื้นที่สำหรับ Open Top และ Flat Rack container
แน่นอนว่าราคาในการขนส่งสินค้าแบบ Open top and Flat rack containers จะสูงกว่าการจัดส่งในตู้แบบทั่วไปอย่างแน่นอน เนื่องจากใช้พื้นที่มาก และไม่สามารถวางซ้อนกันได้
ยกตัวอย่างเช่น ในการเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นบน Flat rack จะใช้พื้นที่กว้างยาวสูงเป็นพิเศษ ดังนั้นค่าขนส่งสินค้าจึงมีราคาสูงมากกว่าปกติ.
ส่วนในกรณีการใช้ Flat rack กับสินค้าที่ใช้พื้นที่บนเรือปกติ ค่าขนส่งสินค้าก็จะมีราคาต่ำกว่า
ISO Tank Container
ลำดับสุดท้าย คือ ISO tank container, คอนเทนเนอร์ประเภท Tank ใช้กับสินค้าที่เป็นของเหลว
เช่นไวน์ น้ำผลไม้ เคมีภัณฑ์ รวมถึงใช้สำหรับขนส่งสินค้าที่เป็นอันตรายได้อีกด้วย
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ต่อไป จะอธิบายเกี่ยวกับขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
อันดับแรกคือ 20’ foot container ซึ่งขนาดที่สามารถบรรจุสินค้าได้จริงคือ ขนาดภายในของตู้คอนเทนเนอร์
Dry container size
20’feet Dry Container
กว้าง: 2.3 เมตร
ยาว : 6 เมตร
สูง: 2.3 เมตร
40’feet Dry Container
กว้าง : 2.3 เมตร
ยาว : 12 เมตร
สูง : 2.3 เมตร
40’HC container
กว้าง : 2.3 เมตร
ยาว : 12 เมตร
สูง : 2.7 เมตร
ขนาดของ 20′ foot container คือ ความกว้างและความสูงประมาณ 2.3 เมตร และ ความยาวประมาณ 6 เมตร
และขนาดของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละสายเรือจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ควรตรวจสอบข้อมูลขนาดสินค้ากับทางผู้ให้บริการก่อน
Open Top Container Size
20’feet Open Top Container
กว้าง : 2.3 เมตร
ยาว : 6 เมตร
สูง: — เมตร
40’feet Open Top Container
กว้าง : 2.3 เมตร
ยาว : 12 เมตร
สูง : — เมตร
Flat Rack Container Size
20’feet Flat Rack Container
ยาว : 6 เมตร
Width: — เมตร
Hight: — เมตร
40’feet Flat Rack Container
ยาว : 12 เมตร
Width: — เมตร
Hight: — เมตร
น้ำหนักของสินค้า
ในกรณีสินค้าที่มีขนาดไม่ใหญ่แต่มีน้ำหนักมาก เช่น เหล็ก เครื่องจักร ของเหลว น้ำ ข้าว เป็นต้น
การขนส่งสินค้าทางเรือ น้ำหนักของสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย
ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20’ foot และ 40’ foot containers สามารถโหลดสินค้าได้มากที่สุด 25 ตัน
ตู้ 40 ฟุต ไม่ได้รับน้ำหนักได้เป็น 2 เท่าของตู้ 20 ฟุตอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด จึงต้องบรรทุกน้ำหนักอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
คุณภาพของตู้คอนเทนเนอร์
สำหรับคุณภาพของตู้คอนเทนเนอร์จะเปลี่ยนไปตามประเภทของสินค้า
คอนเทนเนอร์จะถูกทำความสะอาดและซ่อมแซมอยู่ที่สถานีตู้สินค้า และจะถูกแยกคุณภาพ เอ บี และซีไว้.
ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งสินค้าที่เน้นเรื่องสุขอนามัย เช่น อาหาร ยารักษาโรค สินค้าประเภทนี้จะต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์เกรดเอเท่านั้น
ตู้สภาพเกรด เอ คือ อยู่ในสภาพดีมาก ไม่มีรอยขีด ข่วน พื้นไม่ลอก และไม่มีกลิ่น
สำหรับตู้คอนเทนเนอร์เกรดซี อาจจะพบรอยรั่วบนหลังคา เพราะผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน
จะใช้กับสินค้าประเภทชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือเศษโลหะ
สรุป
หากคุณทำงานอยู่ในสายงานโลจิสติกส์หรือบริษัทเทรดดิ้ง จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภท ขนาด ความแตกต่างของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการทำธุรกิจของตัวคุณเอง