เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการบริการขนส่งแบบ FCL และ LCL

บทความในวันนี้ คือ ความแตกต่างระหว่าง FCL และ LCL แต่จะเจาะจงรายละเอียดสำหรับการขนส่งสินค้าแบบ LCL เป็นหลัก

LCL คือ การส่งสินค้าแบบแชร์ตู้ร่วมกับเจ้าอื่น จะแตกต่างกับการขนส่งแบบ FCL คือ การโหลดสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์
LCL คือ การขนส่งแบบแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายรวมกันมาในตู้คอนเทนเนอร์

ดังนั้น การคำนวณค่าขนส่งสินค้าระหว่าง LCL และ FCL จึงมีความแตกต่างกัน

เราจะอธิบายการคำนวณ จุดคุ้มทุน หรือ break-even point และ การทำกำไร ในปริมาณการขนส่งสินค้าสูงสุด

วิดิโอแอนนิเมชั่น เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการขนส่งสินค้าแบบ LCL และ FCL

ความหมายของการขนส่งสินค้าแบบ LCL

อันดับแรก LCL ย่อมาจาก “Less Than Container Loading” คือ การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์นั่นเอง

Senior CatSenior Cat

คอนเทนเนอร์ที่กล่าวถึง คือ 20 foot container

ขนาดของ 20 foot container มีความกว้างประมาณ 2.3 เมตร ความยาว 6 เมตร และความสูง 2.3 เมตร
มีปริมาตรสูงสุดประมาณ 31 คิวบิกเมตร

สามารถเลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ LCL ในกรณีใดบ้าง ?

ในการเลือกส่งสินค้าแต่ละครั้ง จะต้องคำนวณว่า จะเลือกส่งแบบเต็มตู้หรือเลือกส่งแบบไม่เต็มตู้

ในกรณีที่ปริมาณสินค้า คือ 1 คิวบิกเมตร เราขอแนะนำให้เลือกใช้แบบ LCL ในการพิจารณาว่าจะเลือกใช้การขนส่งแบบ LCL หรือ FCL นั้น เราควรพิจารณาในหลายองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า

ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่งสินค้าแบบ FCL และ LCL

การขนส่งแบบ LCL และ FCL มีความแตกต่างกัน แล้วการขนส่งแบบไหนที่จะเหมาะกับสินค้าของเรา

สำหรับการขนส่งสินค้าแบบ FCL จะคิดค่าใช้จ่ายต่อตู้คอนเทนเนอร์ แต่สำหรับ LCL จะคิดจาก น้ำหนักหรือขนาดของสินค้า

สำหรับ Gross Weight และ Volume Weight ของสินค้า สามารถกดดูบทความได้จาก LINK ข้างล่าง

ข้อสำคัญในการคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งสินค้าแบบ LCL

ในการคำนวณความแตกต่างระหว่าง FCL และ LCL มี 4 ข้อที่สำคัญ คือ

・ค่าขนส่งสินค้า (Ocean freight)
・ค่าภาระภายในท่าเรือ (THC)
・ค่าเข้าตู้ บรรจุตู้สินค้า (CFS)
・ค่ารถบรรทุกสินค้า (Truck costs)

ネコ先輩ネコ先輩

นี่คือสิ่งที่เราต้องคำนึง สำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับ LCL

การคำนวณค่าใช้จ่าย FCL และ LCL

สำหรับค่าเฟรท การส่งแบบ FCL ตู้ 20 ฟุต จะคิดค่าใช้จ่ายในราคา 1 ตู้ แต่สำหรับ LCL คิดค่าใช้จ่ายจากขนาดหรือน้ำหนักของสินค้า

ค่าขนส่งสินค้า จะคิดค่าใช้จ่ายตามขนาด CBM (Cubic meter)

ต่อไปคือค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือ CFS ในการขนส่งสินค้าแบบ LCL จะมีค่าใช้จ่าย CFS เกิดขึ้น คือ ค่าเข้าตู้บรรจุตู้สินค้า

สำหรับค่า THC คือ ค่ายก/วาง/เคลี่ยนย้าย ตู้ภายในท่าเรือ จะถูกคิดทั้งแบบ FCL และ LCL.

ตัวอย่างสำหรับการคิดค่าใช้จ่าย FCL และ LCL

ต่อไปเราจะอธิบาย และยกตัวอย่างทีละขั้นตอน จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่าง คือ การขนส่งสินค้าแบบ FCL และ LCL ระหว่างกรุงเทพและโตเกียว

ค่าเฟรทและค่ารถบรรทุกสินค้า จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ forwarder แต่ละบริษัท แต่สำหรับค่า THC and CFS คือค่าใช้จ่ายที่สายเรือจะเรียกเก็บ มีค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ดังภาพ.

การขนส่งแบบ FCL จะคิดค่าใช้จ่ายต่อ 1 ตู้ 20 ฟุต คอนเทนเนอร์ แต่สำหรับการส่งแบบ LCL ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะคิดตามขนาดหรือน้ำหนักของสินค้า.

การขนส่งแบบ FCL สามารถคำนวณค่าใช้จ่าย ได้ดังนี้

เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เราจะสมมุติขึ้นว่า 1 บาท เท่ากับ 3 เยน และ 1 ดอลล่า เท่ากับ 100 เยน

ในกรณีนี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ คือ 120,800 เยน จะไม่รวมกับค่าพิธีศุลกากรและค่าทำเอกสาร

การขนส่งแบบ LCL สามารถคำนวณค่าใช้จ่าย ได้ดังนี้

สำหรับการส่งสินค้าแบบ LCL จะสมมุติว่า ขนาดของสินค้า คือ 15 CBM เราจะคิดค่าใช้จ่ายเป็นหน่วย CBM จากนั้นนำมาคูณ 15

จะได้ค่าใช้จ่าย เท่ากับ 144,200 เยน

เมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้

นี่คือค่าขนส่งสินค้าแบบ LCL ที่คิดจากขนาดสินค้า 15 CBM

หากขนาดของสินค้าเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

ปัญหาที่พบในการขนส่งสินค้าแบบ LCL

ต่อไป คือปัญหาที่สามารถพบได้ ในกรณีที่เลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ LCL ในฝั่งส่งออกสินค้า ค่าใช้จ่ายสำหรับ LCL จะถูกกว่าแบบ FCL.

ในกรณีที่ผู้ส่งออกสินค้า เลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ LCL กับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ จะมีค่าใช้จ่าย THC และ CFS ในฝั่งนำเข้าสินค้า

ค่าใช้จ่าย THC และ CFS ในฝั่งนำเข้าสินค้า

หากเลือกใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าเทอม CFR หรือ CIF ผู้ส่งออกจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในฝั่งนำเข้าสินค้า
กรณีสินค้ามีขนาดใหญ่แต่เลือกส่งแบบ LCL ก็จะมีปัญหาและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในฝั่งนำเข้าสินค้า

ดังนั้น หากคุณคือผู้ส่งออก ที่ต้องการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่โดยใช้บริการแบบ LCL
จะต้องพิจาราณาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ปลายทางด้วย

สรุป

การขนส่งแบบ LCL จะเหมาะกับสินค้าแบบที่ไม่เต็มตู้ 20 ฟุต หรือมีขนาดสินค้าและน้ำหนักเบา

การขนส่งสินค้าแบบ FCL และ LCL จะมีการพิจารณาค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ในเรื่องค่าเฟรท ค่า THC , ค่า CFS และค่ารถขนส่งสินค้า

การเลือกใช้การขนส่งแบบ FCL และ LCL จะขึ้นอยู่กับขนาดของสินค้า น้ำหนัก และใบเสนอราคาจาก forwarder

หากเลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ LCL จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย THC และ CFS ในฝั่งนำเข้าสินค้า

หากคุณต้องการขนส่งทางเรือด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ควรพิจารณาว่าจะเลือกใช้การขนส่งแบบ FCL หรือ LCL นั้น เราควรพิจารณาในหลายองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้นำเข้า-ส่งออก