บทความเกี่ยวกับ Incoterms 2020 ในกลุ่ม D ซึ่งประกอบไปด้วย DAP,DPU,DDP. Incoterms มีการปรับปรุงและแก้ไขในปี 2000, 2010 และ 2020 เพื่อทำให้เกิดความครอบคลุมและง่ายต่อการนำไปใช้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อกำหนด DDU และ DAT ที่ยกเลิกไปแล้ว ก็ยังถูกใช้อยู่ในปัจจุบัน
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ INCOTERMS กลุ่ม D
INCOTERMS คืออะไร ?
ขออธิบาย Incoterms คร่าวๆ
Incoterms คือ ข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้าหรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล
เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ
การทำข้อตกลงกัน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
INCOTERMS 2020 – กลุ่ม D
ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบสำหรับเทอม DAP, DPU, DDP.
เงื่อนไข DAP
เทอม DAP ย่อมาจาก “Delivered at Place”
คือ สินค้าจะถูกส่ง ณ จุดส่งมอบสินค้า
ผู้ส่งออก ชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางในประเทศผู้ซื้อ โดยไม่รวมค่าขนส่งสินค้าลงจากพาหนะ
ดังนั้น ผู้ส่งออกจะไม่ต้องขนส่งสินค้าลงจากพาหนะ
ผู้นำเข้า รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าลงจากพาหนะ พร้อมทั้งทำพิธีการศุลกากรขาเข้า ภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงื่อนไข DPU
ต่อไป คือ เทอม DPU ย่อมาจาก “Delivered at Place Unloaded”
คือ สินค้าจะถูกส่งมอบและถูกขนถ่ายลง ณ จุดส่งมอบสินค้า
ผู้ส่งออก ชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางในประเทศผู้ซื้อ และยกสินค้าลงจากพาหนะ ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
ผู้นำเข้า รับผิดชอบการทำพิธีการศุลกากรนำเข้า
ความแตกต่างระหว่าง DAP และ DPU คือ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและการขนส่งสินค้าลงจากพาหนะ
เงื่อนไข DDP
อันดับต่อไป คือ DDP ย่อมาจาก “Delivery Duty Paid”.
คือ สินค้าจะถูกส่ง ณ จุดส่งมอบสินค้าและชำระค่าอากร
ผู้ส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดและรับภาระความเสี่ยงจนกว่าสินค้าจะจัดส่งถึงปลายทาง
ซึ่งจัดว่าเป็นการขนส่งที่ง่ายสำหรับผู้นำเข้า
สำหรับเทอม DPU และ DAP ผู้ซื้อรับผิดชอบค่าพิธีการศุลกากร แต่สำหรับเทอม DDP ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าดำเนินพิธีการศุลกากรและค่าภาษี
เป็นการขนส่งที่ง่ายสำหรับลูกค้า
ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบสำหรับกลุ่ม D
DAP (Delivered At Place)
・ผู้ส่งออก:รับผิดชอบสินค้าและค่าใช้จ่ายจนถึงปลายทาง
・ลูกค้า:พิธีการศุลกากร/ภาษีนำเข้า/ภาษีมูลค่าเพิ่ม/ยกสินค้าลงจากพาหนะ
DPU (Delivered at Place Unloaded)
・ผู้ส่งออก:รับผิดชอบสินค้าและค่าใช้จ่ายจนถึงปลายทาง/ยกสินค้าลงจากพาหนะ ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
・ลูกค้า:พิธีการศุลกากร/ภาษีนำเข้า/ภาษีมูลค่าเพิ่ม
DDP (Delivery Duty Paid)
・ผู้ส่งออก:รับผิดชอบสินค้าและค่าใช้จ่ายจนถึงปลายทาง/พิธีการศุลกากร/ภาษีนำเข้า/ภาษีมูลค่าเพิ่ม
・Consignee:ยกสินค้าลงจากพาหนะ
เทอม DDP ผู้ซื้อรับภาระยกสินค้าลงจากพาหนะ
หากคุณคือผู้นำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ เราขอแนะนำให้เลือกใช้เทอม DPU
เพราะเทอม DPU ผู้ส่งออกสินค้าจะมีหน้าที่ยกสินค้าลงจากพาหนะ
วิธีการเขียนเอกสารในการทำข้อตกลงและเอกสาร Invoice
สำหรับ Incoterms กลุ่ม D เราจะต้องให้ความสำคัญกับสถานที่โหลดสินค้า
ซึ่งควรที่จะบันทึกไว้ในข้อตกลงและในเอกสาร invoice ดังนี้ ;
DPU, DAP, DDP ตามด้วย “ที่อยู่”, and Incoterms2020
ตัวอย่าง เช่น : DPU ABC Warehouse Shinagawa Incoterms2020
และจะต้องระบุสถานที่เฉพาะเจาะจงให้ชัดเจน!
Forwarder ในฝั่งนำเข้า
สำหรับกลุ่ม D ผู้ส่งออกจะต้องจัดการเรื่องการขนส่งสินค้า ณ จุดส่งมอบ ที่ทางผู้นำเข้าได้แจ้งไว้ ดังนั้น ผู้ขายหรือผู้ส่งออก จะต้องคุ้นเคยกับประเทศปลายทาง
Freight forwarder ที่ใช้ในประเทศนำเข้าสินค้าจะต้องมีสาขาหรือตัวแทนอยู่ที่ประเทศส่งออกสินค้า
หากทาง freight forwarder ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ เราจะไม่สามารถใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าในกลุ่ม D
อาจจะต้องใช้เทอม CFR และ FOB แทน
หากไม่มีตัวแทนหรือforwarder ในฝั่งนำเข้า จะไม่สามารถใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าในกลุ่ม D ..
ในกรณีนี้ อาจจะต้องใช้เทอม CFR และ FOB แทน
ปัญหาที่พบเจอได้สำหรับ Forwarder ในการใช้เทอม DDP
กรณีตัวอย่าง เกี่ยวกับ freight forwarder ในฝั่งประเทศนำเข้า สำหรับการใช้เทอม DDP
เทอม DDP, สำหรับผู้ส่งออก รับภาระค่าใช้จ่ายภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเหล่านี้ จะสำรองจ่ายโดย freight forwarder ในฝั่งประเทศผู้นำเข้าสินค้า
อย่างไรก็ตาม ภาษีเหล่านี้จะถูกจ่ายโดย เพียงแค่ชั่วคราว และจะเรียกเก็บเงิน freight forwarder ในประเทศผู้ส่งออกในภายหลัง
บริษัท freight forwarder บางแห่งในประเทศผู้นำเข้า อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องการสำรองเงินจ่ายล่วงหน้า
เพราะหากสินค้ามีอัตราภาษีสูง ก็อาจจะเป็นปัญหาเรื่องการจ่ายเงินได้ค่ะ.
ความร่วมมือของ Forwarder ในเรื่องการชำระเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่าง freight forwarder ในประเทศผู้นำเข้าและประเทศส่งออกมีความสำคัญและต้องเชื่อถือได้
หากคุณอยู่ในบริษัทที่พึ่งเริ่มทำธุรกิจที่สินค้ามีอัตราภาษีที่สูง อาจจะโดนปฏิเสธได้ เพราะ freight forwarder ไม่มีเงินสำรองจ่าย
ดังนั้น หากทาง freight forwarder ในประเทศส่งออก ต้องการใช้เงื่อนไขเทอม DDP,
จะต้องส่งเอกสารเรียกเก็บเงินให้แก่ประเทศนำเข้าล่วงหน้า เพื่อที่จะเจรจาเรื่องการจ่ายภาษี.
สามารถใช้เทอม DDU และ DAT ได้อยู่หรือไม่?
ในปัจจุบันสามารถใช้เงื่อนไขที่ถูกยกเลิก เช่น DDU และ DAT ได้หรือไม่ ?
คำตอบ คือ ได้
เพราะในบางครั้ง บริษัทของเรายังใช้เงื่อนไขเทอม DDU ระบุบนเอกสาร invoice ของลูกค้า
Incoterms ไม่ใช่กฎ, แต่คือข้อตกลงและเงื่อนไขเพื่อทำให้เกิดความครอบคลุมและง่ายต่อการนำไปใช้มากขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
หอการค้าระหว่างประเทศแนะนำว่า ให้ใช้เทอม DAP ทดแทนเทอม DAT สำหรับ Incoterms 2020
แต่เป็นแค่เพียงคำแนะนำเท่านั้น!
ในการทำธุรกิจซื้อขาย ควรมีข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อขายต่าง ๆ ได้.
ดังนั้น หากเงื่อนไขเทอม DDU และ DAT ถูกเขียนไว้ในสัญญาและเอกสาร invoice และทางผู้ขายและผู้ซื้อมีการทำข้อตกลงการซื้อขายไว้แล้ว ก็จะไม่มีปัญหา
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเงื่อนไขการขนส่งสินค้ากลุ่ม D
เราได้แนะนำเงื่อนไขใหม่และเงื่อนไขที่ถูกยกเลิก เช่น DDU แต่ยังคงถูกใช้งานจากอยู่
อย่างที่เราได้บอกไป ว่า Incoterm เป็นเพียงกฎที่สนับสนุนข้อตกลงระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
อย่างไรก็ตาม เราจะต้องทำความเข้าใจข้อมูลล่าสุด เพราะเป็นที่สิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่ทำงานในวงการโลจิสติกส์
เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการทำธุรกิจการลูกค้า