หากคุณกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับงานโลจิสจิกส์ สิ่งแรกที่จะต้องทำความเข้าใจคือ INCOTERMS
มีด้วยกันทั้งหมด 11 ชนิด มาพร้อมกับตัวย่อภาษาอังกฤษ 3 ตัวอักษร เช่น CFR,EXW เป็นต้น
อาจเป็นเรื่องยาก สำหรับผู้เริ่มต้นในการจดจำ INCOTERMS ทั้งหมด 11 เงื่อนไข
แต่ไม่ต้องกังวล! ส่วนใหญ่เราใช้เพียงแค่ 6 INCOTERMS ในการทำธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
หากคุณต้องการเรียนรู้ทั้ง 11 IMCOTERMS ทางผู้เขียนแนะนำว่า ควรจะทำความเข้าใจ 6 INCOTERMS แรกให้ได้อย่างแม่นยำ เมื่อทำความเข้าใจดีแล้วจึงจะสามารถนำเอาความรู้พื้นฐานนี้ ไปใช้อีก 5 INCOTERMS ที่เหลือได้อย่างแน่นอน
We can remember the 6 kinds out of 11!
ในครั้งนี้ ทางผู้เขียนอยากอธิบาย 6 INCOTERMS พื้นฐาน ให้ทางผู้อ่านได้ ทำความเข้าใจอย่างง่ายที่สุด
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ INCOTERMS คืออะไร ?
INCOTERMS คืออะไร ?
ก่อนที่จะอธิบายว่า INCOTERMS คืออะไรนั้น ทางผู้เขียนขออธิบายว่า สามารถนำ INCOTERMS มาใช้กับธุรกิจการขนส่งได้อย่างไรบ้าง
คือ…
เป็นข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.ใครคือผู้รับภาระในการ จ่ายค่าขนส่งสินค้า ในแต่ละขั้นตอนของการจัดส่งสินค้า
2.ใครคือ ผู้รับผิดชอบ หากสินค้าเกิดความเสียหายในแต่ละขั้นตอนของการจัดส่งสินค้า
หรือสามารถเข้าใจได้ว่า Incoterms คือ ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรรู้ว่า ส่วนไหนเป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย (Seller) หรือผู้ซื้อ (Buyer)
INCOTERMS จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นวิธีที่ใช้กำหนดความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ และข้อผูกพันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการขนส่งสินค้า
สามารถอธิบาย INCOTERMS ด้วยรูปภาพดังต่อไปนี้
เคล็ดลับสำหรับ INCOTERMS คือ ไม่เพียงแต่การจดจำ แต่ควรที่จะ ทำความเข้าใจให้ละเอียด
ทางผู้เขียนขออธิบาย 6 INCOTERMS ด้วยรูปภาพประกอบเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและจดจำได้โดยการอ่าน แต่เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เรามีภาพประกอบเพื่อช่วยในการจดจำได้ดียิ่งขึ้น
EXW / Ex Works (Shipments handling at factories)
EXW เป็นข้อตกลงทางการค้าที่สินค้าที่ผู้ขาย (Seller) ขายสินค้าให้ผู้ซื้อ (Buyer) มารับไปเอง หรือเรียกว่า “สินค้าหน้าโรงงาน”
EXW ย่อมากจาก E-Ex Works หรือ Ex Works.
ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายเมื่อได้รับมอบสินค้า และผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
Please take care at your side after we make the productions and then load them into the track or into the containers.
We will take care it all after going through your procedures at your side!
ในมุมมองของฝั่งผู้ขาย ถือว่าเป็นข้อตกลงทางการค้าที่ง่ายที่สุด เพราะความรับผิดชอบทั้งหมด จะตกไปอยู่ทางฝั่งผู้ซื้อ
และทางผู้ขาย ไม่ต้องรับภาระในการรับผิดชอบ หากสินค้าเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง
FOB / Free On Board (Shipments handling on board of vessel)
การส่งสินค้าแบบ FOB คือ ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ เรือต้นทาง โดยผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง
ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว และเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า
ส่วนผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก
We will pay all cost with the production fees at our side.
Sure! We will take all responsibilities after the products will be loaded on the vessel.
ในคำอธิบายข้างต้น เกี่ยวกับ EXW ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกรับภาระโดยผู้ซื้อ ในทางกลับกัน ข้อตกลงของ FOB ค่าใช้จ่ายที่ต้นทาง ทางผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ
C & F/Cost & Freight (Shipments including Ocean Freight)
เงื่อนไข C&F หรือเรียกอีกชื่อว่า CFR คือ ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดและเป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้า
เมื่อได้รับมอบสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทางและผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนและขาเข้า
ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก
The fire on the vessel caused and the containers fell into the ocean.
It’s not our responsible to take care this issue. Did you get insurance for the cargoes?
No, I didn’t.
Are you serious!?
CIF/ Cost, Insurance & Freight (Shipments including Ocean Freight and Insurance)
เงื่อนไขแบบ CIF คือ ผู้ซื้อจะต้องทำ สัญญาประกันภัย ภายใต้เงื่อนไข C&F
We surely arranged the insurance this time!
It is totally secured to have the insurance on the cargoes.
ทางผู้เขียน ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำสัญญาประกันภัยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในบทความด้านล่างนี้
Do you add the cargo insurance for your shipment? Dangers are hidden everywhere in international transport. If your shipment is not properly insured, your shipment will not be guaranteed for any damage.
DDU/Delivered Duty Unpaid (Shipments handling at Door Delivery Places without customs fee)
เงื่อนไขแบบ DDU คือ ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายและรับภาระความเสี่ยงทั้งหมด จนสินค้าถึงมือลูกค้า ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
ส่วนฝั่งผู้ซื้อ มีภาระในการจ่ายอากรและภาษีนำเข้า
This is called “Door to Door.”
But we will pay the taxes at our side.
อากรและภาษี ในการขนส่งสินค้าแต่ละครั้ง จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนการทำธุรกิจ ควรที่จะตรวจสอบให้ละเอียดที่สุด
ซึ่งรายละเอียดของข้อตกลง DDP มีดังต่อไปนี้
DDP/ Delivered Duty Paid (Shipments handling at Door Delivery Places including customs fee)
เงื่อนไขแบบ DDP ทางผู้ซื้อจะชอบเป็นพิเศษ เพราะผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่งสินค้า ขึ้นรถ ลงเรือ ขนขึ้นเครื่องบิน ค่าประกันสินค้า ค่าศุลกากร ทุกสิ่งอย่างผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
ฝั่งผู้ขายจะต้องชำระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งสินค้าจนสินค้าถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
และ ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า
We will pay all costs! Take cargoes and products for free!
Thanks!
Conclusion
6 เงื่อนไขพื้นฐาน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการขนส่งสินค้า ซึ่งการทำธุรกิจการซื้อขายในแต่ละครั้ง จะเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
หากคุณกำลังวางแผนที่จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้เงื่อนไขการส่งสินค้าแบบ FOB หรือ C&Fหรือ CIF
สำหรับการส่งออกสินค้า เราขอแนะนำให้ท่านเลือกใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ C&F หรือ CIF ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศนั้น จะขึ้นอยู่กับทางตัวแทนการขนส่งสินค้า