บทความที่จะนำเสนอในวันนี้ คือ “Prepaid” and “Collect” เป็นคำศัพท์ที่สำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
สงสัยหรือไม่ว่า “Collect” means? และ “Collecting” คืออะไร ?
หากคุณไม่มีประสบการณ์หรือไม่อยู่ในแวดวงโลจิสติกส์ ก็อาจจะสงสัยได้ ว่าคืออะไร ?
ทางผู้เขียนจะอธิบายความแตกต่างระหว่าง “Prepaid” และ “Collect” ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ Freight Prepaid และ Collect
วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมาพร้อมกับการ์ตูนแสนน่ารัก และคำอธิบายอย่างง่าย เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง “Freight Prepaid” และ “Freight Collect”
คำว่า “Prepaid” และ “Collect”. สองคำนี้จะเกี่ยวข้องกับ “Freight” (คือค่าระวางสินค้าทางเรือและทางเครื่องบิน) และสามารถหาเงื่อนไข “Freight Prepaid” และ “Freight Collect” ได้บน Bill of Lading (B/L).
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เราจะทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ
Freight : ค่าระวางสินค้า หรือ ค่าขนส่งสินค้า
Prepaid : การชำระสินค้าล่วงหน้า (Pre-Paid)
Collect : การเรียกเก็บ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรืออื่นๆ (at destination)
“Freight Prepaid” คือ การจ่ายเงินล่วงหน้า : จ่ายเงินค่าขนส่งสินค้าทางเรือหรือทางอากาศ ณ ประเทศส่งออกสินค้า
“Freight Collect” คือ การเรียกเก็บเงิน : การเรียกเก็บเงินค่าขนส่งสินค้าทางเรือหรืออากาศ ณ ประเทศนำเข้าสินค้า
ใครคือผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า
・Freight Prepaid: Shippers เป็นผู้จ่าย
・Freight Collect: Consignees เป็นผู้จ่าย
“Freight” คืออะไร?
“Freight” หมายถึง ค่าระวางสินค้าหรือค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึง Ocean Freight ค่าระวางสินค้าทางเรือ และ Air Freight ค่าระวางสินค้าทางเครื่องบิน.
Bill of Lading (B/L) และ Air Waybill ที่เราได้พูดถึงกันไปนั้น จะไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ารถส่งสินค้าในฝั่งส่งออกและนำเข้าสินค้า, ค่าย้ายตู้ที่ท่าเรือ (Terminal handling charges) และค่าดำเนินพิธีการศุลกากร.
ไม่ยากเลยใช่ไหม..
“Incoterms” จะเกี่ยวข้องกับ Freight Prepaid และ Collect
คำว่า “Freight Prepaid” และ “Freight Collect” จะเกี่ยวข้องกับ Incoterms คือเงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งจะระบุว่า ใครคือผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
Freight Prepaid:CIF, CFR, DDU,DDP
Freight Collect:EXW, FOB
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น สำหรับรายละเอียดของ Incoterms สามารถกดดู Link ข้างล่างนี้ :
หากคุณกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับงานโลจิสจิกส์ สิ่งแรกที่จะต …
การเลือกใช้ Prepaid/Collect ขึ้นอยู่กับทางผู็ขายและลูกค้า
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าลูกค้า จะทำการตกลงเรื่องการจ่ายค่าระวางสินค้า เป็นแบบ “Freight Prepaid” หรือ “Freight Collect” และเลือกเงื่อนไขการขนส่งสินค้าสินค้าเอง.
ในกรณีที่ทางผู้นำเข้า ต้องการจัดการรับภาระการขนส่งสินค้าด้วยตนเอง เราขอแนะนำให้เลือกใช้ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ EXW หรือ FOB.
ในกรณีที่ผู้ส่งออกสินค้า ต้องการรับภาระการขนส่งสินค้าเอง เราขอแนะนำให้เลือกใช้ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ CIF หรือ DDU/DDP
เราจะต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการขนส่งสินค้าก่อนการทำธุรกิจ
กรณีตัวอย่าง สำหรับการเลือกใช้ “Freight Collect”
ขอยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นจริงกับบริษัทของผู้เขียนเอง : ลูกค้าในประเทศไทยของเรา เริ่มทำธุรกิจกับผู้นำเข้าในประเทศหนึ่ง
บริษัทของเราในฐานะ forwarders ในฝั่งส่งออกสินค้า ได้ทำกับการตกลงกับทางสายเรือ ว่าจะใช้เงื่อนไข CFR และเป็นแบบ Freight Prepaid
เงื่อนไขการส่งออกได้เปลี่ยนจาก Freight “Prepaid” เป็น “Collect”
ผู้ส่งออกในประเทศไทย และ ผู้นำเข้าที่ปลายทาง ได้พูดคุยและทำการตกลงเรื่องการเปลียนเงื่อนไขการขนส่งสินค้าเสร็จสิ้น
หลังจากนั้นลูกค้า ขอเปลี่ยนเงื่อนไขการขนส่งเป็นแบบ Freight Collect ก่อนการส่งออกสินค้า
เงื่อนไข CIF จึงถูกเปลี่ยนเป็น EWX. ทางเราได้ตกลงกับทางสายเรือว่าจะจ่ายค่าขนส่งสินค้าล่วงหน้า ดังนั้น เราจึงต้องจ่ายค่าขนส่งสินค้ากับทางสายเรือล่วงหน้าในฝั่งประเทศไทย
B/L จะแสดงค่าขนส่งสินค้า ดังนี้
・Master Bill of Lading (B/L): Freight Prepaid
・House Bill of Lading (B/L): Freight Collect
“เราจึงอยากให้ทางผู้อ่าน ได้ศึกษากรณีเหล่านี้ไว้”
สามารถกดเข้าไปอ่านความแตกต่างระหว่าง Master B/L และ House B/L.
การเรียกเก็บเงินจากลูกค้าปลายทาง
ปัญหาที่แท้จริงคือ forwarder ในฝั่งประเทศไทย จะต้องเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้าสินค้า. โดยบริษัทของเราจะมีเอเจ้นที่ฝั่งนำเข้าสินค้า ที่คอยติดต่อสื่อสาร ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้
หากเราไม่มีเอเจ้นที่ปลายทาง จะทำให้ยากต่อการได้รับเงินจากบริษัทนำเข้าสินค้า
บริษัทของเรา ก็มีระยะเวลาที่ยากลำบากในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
ปัญหาเกี่ยวกับสกุลเงิน
เมื่อเงื่อนไขการขนส่งสินค้า คือ EXW ดังนั้นการขนส่งสินค้าในประเทศไทยจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นเงินบาท เช่น ค่ารถขนส่งสินค้า ค่าธรรมเนียมพิธีการศุลกากรและค่าย้ายตู้ที่ท่าเรือ จากนั้นเราจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับลูกค้าเป็นสกุลเงิน USD
ในระหว่างกระบวนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จะมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเกิดขึ้นด้วย
การให้ความสำคัญเกี่ยวกับทำธุรกิจ
ในตัวกรณีตัวอย่างข้างต้น ค่อนข้างมีความยุ่งยาก เพราะว่าได้ตกลงและพูดคุยเกี่ยวกับการทำธุรกิจไปเรียบร้อยแล้ว และกำลังจะเตรียมที่จะขนส่งสินค้าส่งออกไปประเทศปลายทาง ทางผู้เขียนขอย้ำ ว่า Freight Prepaid และ Freight Collect มีความสำคัญสำหรับเงื่อนไขการขนส่งสินค้า ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องในการชำระเงิน
ในการธุรกิจร่วมกันระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และสกุลเงิน.
สรุป
ในฐานะ forwarder เราอยากให้ทางผู้อ่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทความนี้ หากคุณไม่เข้าใจเงื่อนไขการขนส่งสินค้าที่มากพอ ก็อาจจะเกิดความสับสนได้ ว่าใครจะต้องเป็นผู้ชำระเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจของคุณเองค่ะ