มุมมองสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสำหรับการขนส่งสินค้า เทอม FOB และ FCA

บทความนี้ คือ มุมมองสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสำหรับการขนส่งสินค้า เทอม FOB

Senior CatSenior Cat

การจัดการกับความเสี่ยงและราคาต้นทุน คือ ปัจจัยหลักในการซื้อขาย

เช่น หากเราทำธุรกิจกับบริษัทที่มีประสบการณ์ในการนำเข้าสินค้า จะใช้เงื่อนไขการขนส่งแบบ FOB กับประเทศที่มีการซื้อขายเป็นปกติ

สำหรับเงื่อนไข CFR จะใช้กับประเทศที่ไม่ค่อยมีการซื้อขายร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้เทอมการขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจ

ข้อดีและข้อเสีย สำหรับการขนส่งสินค้าแบบ FOB

วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ FOB

FOB คืออะไร ?

การขนส่งสินค้าเทอม FOB คือ ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
หลังจากนั้น ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

FOB ย่อมาจาก “Free On Board”, และ “board” ในที่นี้ หมายความว่า ดาดฟ้าเรือ

และ ผู้ซื้อจะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว

เอกสาร เกี่ยวกับ FOB

ในเอกสาร Invoice ชื่อของท่าเรือส่งออกสินค้า จะตามหลังคำว่า FOB

ยกตัวอย่าง เช่น “FOB TOKYO”

“FOB TOKYO” หมายถึง เมื่อสินค้าถูกส่งออกจากโตเกียว, วางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือส่งออก
ภาระความรับผิดชอบทั้งหมดจะย้ายจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้า
.

ผู้นำเข้ารับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว ซึ่งเป็นการลดภาระความรับผิดชอบในฝั่งผู้ส่งออก

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้นำเข้าแล้ว ภาระความรับผิดชอบจะน้อยกว่าการส่งสินค้าเทอม EX-works
การส่งสินค้าแบบ FOB จะต้องมีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันความเสี่ยงในระดับหนึ่ง

มุมมองของผู้ส่งออก สำหรับการส่งสินค้าเทอม FOB

สิ่งที่จะต้องเตรียมในการส่งออกสินค้าเทอม FOB คือ รถบรรทุกสินค้าภายในประเทศและการทำศุลกากร

Senior SeagullSenior Seagull

ผู้ส่งออกจะต้องเตรียมการขนส่งสินค้าภายในประเทศและการทำศุลกากร

สำหรับผู้ส่งออก การส่งสินค้าแบบ FOB จะไม่ซับซ้อนและเป็นลดภาระความรับผิดชอบ
ซึ่งผู้ส่งออก จะมีหน้าที่เพียงมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ

หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้า

มุมมองของผู้นำเข้า สำหรับการส่งสินค้าเทอม FOB

หากคุณนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่เป็นประจำ สามารถลดต้นทุนจากการใช้เทอม FOB ได้.

โดยการเจรจาเรื่องค่าเฟรทกับทาง freight forwarder

Senior CatSenior Cat

ในกรณีที่ทำการซื้อขายสินค้าเทกองโดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า เราขอแนะนำให้เลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ CFR

จะต้องคำนึงถึงปริมาณ, ค่าใช้จ่าย เพื่อความคุ้มค่าและสามารถจัดการได้อย่างราบรื่น

คำแนะนำ

– หากผู้นำเข้า นำเข้าสินค้าในปริมาณมาก : แนะนำให้ใช้เทอม FOB
– หากผู้ส่งออก ส่งออกสินค้าในปริมาณมาก : แนะนำให้ใช้เทอม CFR/CIF

การเลือก freight forwarder

freight forwarder ที่ดีจะต้องมีตัวเลือกและข้อเสนอต่างๆ เพื่อความสะดวกและราบรื่น

สำหรับการเลือก freight forwarder ก็มีความสำคัญ จะต้องเลือกใช้บริษัทที่มี ประสบการณ์และเชี่ยวชาญ ทางด้านการขนส่งสินค้า

freight forwarder ที่ดีจะต้องมี ตัวเลือกและข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อความสะดวกและราบรื่น

ตัวอย่าง ของบริษัท HPS Trade

ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทของเราได้นำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน มายังประเทศไทยเป็นประจำ

ดังนั้น จะมีปริมาณสินค้ามาก ค่าใช้จ่ายจึงถูกลง

แต่ถ้าหากนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาหรือแอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่เราได้ทำซื้อขายเป็นประจำ มีปริมาณนำเข้าน้อย จึงมีค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น

ดังนั้น ในกรณีเรานี้ จะเสนอเทอม CFR เพื่อเพิ่มกำไรให้กับผู้ส่งออก

Incoterms : FCA – Free Carrier

ต่อไป คือการขนส่งสินค้าแบบ “FCA” ที่มีความคล้ายคลึงกับ “FOB”

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่า เทอม “FOB” คือ ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบ จากถูกเปลี่ยนจากผู้ขายไปเป็นผู้ซื้อ เมื่อสินค้าถูกวางลงบนเรือ

แต่สำหรับเทอม FCA คือ ค่าใช้จ่ายและภาระความรับผิดชอบ จากถูกเปลี่ยนจากผู้ขายไปเป็นผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่ระบุไว้
หรือ จุดรับสินค้า เช่น หน้าโรงงาน

ภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง จถูกย้ายเมื่อ…

・FOB:เมื่อสินค้าถูกวางลงบนเรือ
・FCA:ณ จุดรับสินค้าหรือโกดังสินค้า ที่ฝั่งส่งออก

ประโยชน์จากการใช้เทอม FCA คือ มีภาระความรับผิดชอบที่ท่าเรือ น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเทอม FOB

สรุป

เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ FOB คือ ภาระความรับผิดชอบจะถูกเปลี่ยนจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้า
ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถูกวางบนเรือในฝั่งประเทศส่งออกสินค้า

ดังนั้น ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเทอมซื้อขาย FOB

และพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ให้เหมาะกับการทำธุรกิจของคุณ