Freight Prepaid และ Freight Collect ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

บทความที่จะนำเสนอในวันนี้ คือ “Prepaid” and “Collect” เป็นคำศัพท์ที่สำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

Senior CatSenior Cat

สงสัยหรือไม่ว่า “Collect” means? และ “Collecting” คืออะไร ?

หากคุณไม่มีประสบการณ์หรือไม่อยู่ในแวดวงโลจิสติกส์ ก็อาจจะสงสัยได้ ว่าคืออะไร ?

ทางผู้เขียนจะอธิบายความแตกต่างระหว่าง “Prepaid” และ “Collect” ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น

วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ Freight Prepaid และ Collect

วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมาพร้อมกับการ์ตูนแสนน่ารัก และคำอธิบายอย่างง่าย เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง “Freight Prepaid” และ “Freight Collect”

คำว่า “Prepaid” และ “Collect”. สองคำนี้จะเกี่ยวข้องกับ “Freight” (คือค่าระวางสินค้าทางเรือและทางเครื่องบิน) และสามารถหาเงื่อนไข “Freight Prepaid” และ “Freight Collect” ได้บน Bill of Lading (B/L).

เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เราจะทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ

ความแตกต่างระหว่าง “Freight Prepaid” และ “Freight Collect”

Freight : ค่าระวางสินค้า หรือ ค่าขนส่งสินค้า
Prepaid : การชำระสินค้าล่วงหน้า (Pre-Paid)
Collect : การเรียกเก็บ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรืออื่นๆ (at destination)

“Freight Prepaid” คือ การจ่ายเงินล่วงหน้า : จ่ายเงินค่าขนส่งสินค้าทางเรือหรือทางอากาศ ณ ประเทศส่งออกสินค้า
“Freight Collect” คือ การเรียกเก็บเงิน : การเรียกเก็บเงินค่าขนส่งสินค้าทางเรือหรืออากาศ ณ ประเทศนำเข้าสินค้า

ใครคือผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า

Freight Prepaid: Shippers เป็นผู้จ่าย
Freight Collect: Consignees เป็นผู้จ่าย

“Freight” คืออะไร?

“Freight” หมายถึง ค่าระวางสินค้าหรือค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึง Ocean Freight ค่าระวางสินค้าทางเรือ และ Air Freight ค่าระวางสินค้าทางเครื่องบิน.

Bill of Lading (B/L) และ Air Waybill ที่เราได้พูดถึงกันไปนั้น จะไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ารถส่งสินค้าในฝั่งส่งออกและนำเข้าสินค้า, ค่าย้ายตู้ที่ท่าเรือ (Terminal handling charges) และค่าดำเนินพิธีการศุลกากร.

Senior SeagullSenior Seagull

ไม่ยากเลยใช่ไหม..

“Incoterms” จะเกี่ยวข้องกับ Freight Prepaid และ Collect

คำว่า “Freight Prepaid” และ “Freight Collect” จะเกี่ยวข้องกับ Incoterms คือเงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งจะระบุว่า ใครคือผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

“Incoterms” จะเกี่ยวข้องกับคำเหล่านี้

Freight Prepaid:CIF, CFR, DDU,DDP
Freight Collect:EXW, FOB

เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น สำหรับรายละเอียดของ Incoterms สามารถกดดู Link ข้างล่างนี้ :

การเลือกใช้ Prepaid/Collect ขึ้นอยู่กับทางผู็ขายและลูกค้า

ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าลูกค้า จะทำการตกลงเรื่องการจ่ายค่าระวางสินค้า เป็นแบบ “Freight Prepaid” หรือ “Freight Collect” และเลือกเงื่อนไขการขนส่งสินค้าสินค้าเอง.

ในกรณีที่ทางผู้นำเข้า ต้องการจัดการรับภาระการขนส่งสินค้าด้วยตนเอง เราขอแนะนำให้เลือกใช้ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ EXW หรือ FOB.

ในกรณีที่ผู้ส่งออกสินค้า ต้องการรับภาระการขนส่งสินค้าเอง เราขอแนะนำให้เลือกใช้ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ CIF หรือ DDU/DDP

Senior CatSenior Cat

เราจะต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการขนส่งสินค้าก่อนการทำธุรกิจ

กรณีตัวอย่าง สำหรับการเลือกใช้ “Freight Collect”

ขอยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นจริงกับบริษัทของผู้เขียนเอง : ลูกค้าในประเทศไทยของเรา เริ่มทำธุรกิจกับผู้นำเข้าในประเทศหนึ่ง

บริษัทของเราในฐานะ forwarders ในฝั่งส่งออกสินค้า ได้ทำกับการตกลงกับทางสายเรือ ว่าจะใช้เงื่อนไข CFR และเป็นแบบ Freight Prepaid

เงื่อนไขการส่งออกได้เปลี่ยนจาก Freight “Prepaid” เป็น “Collect”

ผู้ส่งออกในประเทศไทย และ ผู้นำเข้าที่ปลายทาง ได้พูดคุยและทำการตกลงเรื่องการเปลียนเงื่อนไขการขนส่งสินค้าเสร็จสิ้น
หลังจากนั้นลูกค้า ขอเปลี่ยนเงื่อนไขการขนส่งเป็นแบบ Freight Collect ก่อนการส่งออกสินค้า

เงื่อนไข CIF จึงถูกเปลี่ยนเป็น EWX. ทางเราได้ตกลงกับทางสายเรือว่าจะจ่ายค่าขนส่งสินค้าล่วงหน้า ดังนั้น เราจึงต้องจ่ายค่าขนส่งสินค้ากับทางสายเรือล่วงหน้าในฝั่งประเทศไทย

B/L จะแสดงค่าขนส่งสินค้า ดังนี้

Master Bill of Lading (B/L): Freight Prepaid
House Bill of Lading (B/L): Freight Collect

Senior SeagullSenior Seagull

“เราจึงอยากให้ทางผู้อ่าน ได้ศึกษากรณีเหล่านี้ไว้”

สามารถกดเข้าไปอ่านความแตกต่างระหว่าง Master B/L และ House B/L.

การเรียกเก็บเงินจากลูกค้าปลายทาง

ปัญหาที่แท้จริงคือ forwarder ในฝั่งประเทศไทย จะต้องเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้าสินค้า. โดยบริษัทของเราจะมีเอเจ้นที่ฝั่งนำเข้าสินค้า ที่คอยติดต่อสื่อสาร ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้

หากเราไม่มีเอเจ้นที่ปลายทาง จะทำให้ยากต่อการได้รับเงินจากบริษัทนำเข้าสินค้า

Cat・SeagullCat・Seagull

บริษัทของเรา ก็มีระยะเวลาที่ยากลำบากในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า

ปัญหาเกี่ยวกับสกุลเงิน

เมื่อเงื่อนไขการขนส่งสินค้า คือ EXW ดังนั้นการขนส่งสินค้าในประเทศไทยจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นเงินบาท เช่น ค่ารถขนส่งสินค้า ค่าธรรมเนียมพิธีการศุลกากรและค่าย้ายตู้ที่ท่าเรือ จากนั้นเราจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับลูกค้าเป็นสกุลเงิน USD

ในระหว่างกระบวนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จะมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเกิดขึ้นด้วย

การให้ความสำคัญเกี่ยวกับทำธุรกิจ

ในตัวกรณีตัวอย่างข้างต้น ค่อนข้างมีความยุ่งยาก เพราะว่าได้ตกลงและพูดคุยเกี่ยวกับการทำธุรกิจไปเรียบร้อยแล้ว และกำลังจะเตรียมที่จะขนส่งสินค้าส่งออกไปประเทศปลายทาง ทางผู้เขียนขอย้ำ ว่า Freight Prepaid และ Freight Collect มีความสำคัญสำหรับเงื่อนไขการขนส่งสินค้า ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องในการชำระเงิน

ในการธุรกิจร่วมกันระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และสกุลเงิน.

สรุป

ในฐานะ forwarder เราอยากให้ทางผู้อ่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทความนี้ หากคุณไม่เข้าใจเงื่อนไขการขนส่งสินค้าที่มากพอ ก็อาจจะเกิดความสับสนได้ ว่าใครจะต้องเป็นผู้ชำระเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจของคุณเองค่ะ